นักวิเคราะห์ฟันธงประเทศที่เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

5521

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

ผู้นำเศรษฐกิจของโลกหลายประเทศกำลังเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ เมื่อธนาคารกลางเดินหน้าจัดการนโยบายทางการเงินอย่างรุนแรงเพื่อสู้กับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของบริษัทหลักทรัพย์ Nomura holdings ⁣

Rob Subbaraman หัวหน้าแผนกวิจัยตลาดโลกในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น Asia ex-Japan บอกว่า “ตอนนี้ ธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศกำลังปรับเปลี่ยนให้มีนโยบายทางการเงินที่สำคัญเพียงประการเดียว นั้นก็คือการลดเงินเฟ้อ ความน่าเชื่อถือของนโยบายทางการเงินก็เป็นสิ่งมีค่าที่จะต้องรักษาเอาไว้อย่างแน่วแน่ เพราะฉะนั้นพวก⁣

เขาจึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่รุนแรง” ⁣
เขากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “นั้นหมายความว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต โดยทางเราได้ชี้ให้เห็นว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นระยะเวลาหลายเดือนและเราก็กัดฟันทน และตอนนี้เราเห็นเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนากำลังเข้าสู่สภาะเศรษฐกิจถดถอยอย่างจริงจัง”⁣

นอกจากสหรัฐฯ ทาง Nomura คาดการณ์ว่าประเทศในแถบยุโรปก็จะเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและแคนาดาในปีหน้า โดยบริษัทนายหน้าดังกล่าวได้อธิบายไว้ในบทวิจัยย่อ⁣

“ธนาคารกลางทั่วโลกเก็บ “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแบบสุดๆ” เอาไว้นานเกินพอ หวังว่าสภาวะเงินเฟ้อจะเป็นเพียงสภาวะชั่วคราวเท่านั้น ตอนนี้รัฐบาลจะต้องเล่นไล่จับและควบคุมเงินเฟ้อให้ได้อย่างอยู่หมัด” Subbaraman กล่าว⁣

“อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือ เมื่อมีเศรษฐกิจของหลายประเทศ เริ่มอ่อนแอ คุณก็ไม่อาจจะคาดหวังให้ภาคการส่งออกเติบโตได้ นั้นคือสาเหตุที่ทำไมเราถึงพิจารณาว่าเรากำลังเสี่ยงเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยจริงๆ และมีความน่าจะเป็นสูง” Subbaraman กล่าว ⁣

สภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ : ไม่หนักแต่นาน⁣
สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทาง Nomura คาดการณ์ไว้ว่าสภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีโอกาสเกิดแน่ๆ แต่จะไม่หนักและจะกินระยะเวลายาวนานและเริ่มจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 ⁣
สหรัฐฯ จะเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นค่า GDP ที่ติดลบเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ถือว่าเป็นสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ไม่รุนแรงแต่กินระยะเวลายาวนาน เราเผชิญหน้ากับมันมา 5 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว Subbaraman กล่าวเพิ่มเติม⁣
ทางธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางของยุโรปกำลังพยายามงัดข้อกับเงินเฟ้อโดยใช้การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ ⁣

FED ปรับเกณฑ์การขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 0.75% ให้อยู่ในช่วง 1.5%-1.75% ในเดือนมิถุนายน ประธานธนาคากลางสหรัฐ อย่าง Jerome Powell ชี้ชัดว่าอาจจะมีการเพิ่มดอกเบี้ยอีก 0.50% หรือ 0.75% ในช่วงเดือนกรกฏาคม⁣

“FED จะเพิ่มความเข้มงวดจนอาจจะทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้และนั้นเพราะว่าเราเห็นว่าสภาวะเงินเฟ้อเริ่มจะเป็นปัญหา มันปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะลดระดับลงจะกลายเป็นเรื่องยาก” Subbaraman อธิบายเพิ่มเติม⁣

“ทาง FED เราได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนกรกฏาคมและจากนั้นก็ 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไป” ⁣
นักเศรษฐศาสตร์เน้นย้ำจากการคาดการณ์ของ Nomura ว่า “จากนั้นก็จะใช้อัตราการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ไปเรื่อยๆ จนกว่าอัตราดอกเบี้ยของ FED จะอยู่ที่ 3.75% ภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า⁣
ความเสี่ยงที่ระบบเศรษฐกิจขนาดกลางกำลังเผชิญ ⁣
ในบทวิจัยย่อ ทาง Nomura ยังเน้นย้ำถึงระบบเศรษฐกิจขนาดกลางทั้งหลาย รวมถึงออสเตรเลีย แคนาดาและเกาหลีใต้ ที่มีหนี้อสังหาริมทรัพย์สูง พวกเขากำลังเสี่ยงกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้หากการขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบกับราคาที่อยู่อาศัยและกระบวนการของการลดภาระหนี้สินในระบบ⁣
ข้อมูลในบทวิจัยย่อยังอธิบายอีกว่า “ที่น่าแปลกใจก็คือประเทศจีน ที่เริ่มฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อมีการปลดล็อกและมีการปล่อยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากมาย แต่ทว่าการล็อกดาวน์อีกครั้งจะเสี่ยงกับการเผชิญหน้ากับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง ตราบเท่าที่ปักกิ่งยังมุ่งมั่นอยู่กับกลยุทธ์ Zero-Covid” ⁣

“หากธนาคารกลางไม่เข้มงวดกับนโยบายทางการเงินเพื่อที่จะลดสภาวะเงินเฟ้อตอนนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไขและจะยิ่งทำร้ายระบบเศรษฐกิจ” และจะยิ่งทวีความร้ายแรงไปเรื่อยๆ Subbaraman ย้ำเตือน⁣

เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “มันจะนำไปสู่ราคาค่าจ้างที่ปรับขึ้นไปตามค่าสินค้าและบริการที่ปรับตัวขึ้น (wage price spirals) ซึ่งจะยิ่งสร้างความเจ็บปวดสำหรับระบบเศรษฐกิจและชายหญิงทั่วไปบนท้องถนนในระยะยาว” ⁣
“การจะพูดให้ดูดีมันยาก การเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดเพื่อที่จะปรับเงินเฟ้อลงจะดีกับเศรษฐกิจและสังคมโลก มากกว่าการปล่อยให้เงินเฟ้อเพิ่มไปเรื่อยๆ จนไม่อาจจะควบคุมได้เหมือนที่เราได้เรียนรู้มาในช่วงปี 1970”

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต

อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย

ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน คลิกเลย

#ถ้าไม่อยากพลาดแนวคิดการลงทุนและไอเดียการลงทุนดี ๆ อย่าลืมกด subscribe และ กดกระดิ่งนะครับ คลิกเลย

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

5521

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!