“การเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลก” และ “3 คำถามทีต้องตอบให้ได้ในเวลานี้” ในมุมมองของ Ray Dalio

924

#ลงทุนนอกโลก โดยเพจ #ถามอีกกับอิก

 

ช่วงนี้ให้ความรู้กันรัว ๆ มากครับ ยาวมากแต่อ่านแล้วช่วยเสริมมุมมองและจะเข้าใจเลยว่าทำไมเฮีย ถึงทำผลตอบแทนได้ดีเสมอมา

 

ไปลุยอ่านกันเลยครับ

 

ปล.ถ้าชอบเนื้อหาของ เพจ “ถามอีก กับอิก” ฝากกด Like กด share และกด See First จะได้ไม่พลาดทุกข้อมูลที่พวกเราตั้งใจทำให้ครับ

 

================

 

มาลุยภาพรวมกันก่อนครับ

 

1. “ผมเชื่อว่า อนาคตจะแตกต่างจากช่วงเวลาที่เราเคยผ่านในอดีต จะไม่มีวันเหมือนเดิมแล้วถึงแม้ว่าจะมีส่วนที่คล้ายกับประวัติศาสตร์อยู่บ้าง” เฮีย Ray Dalio เกริ่นมาซะน่าสนใจเชียวครับ

 

2. สิ่งที่ คุณ Ray มองเห็นว่ามันกำลังมาบรรจบกันพอดิบพอดี มีอยู่ สาม เรื่องด้วยครับ

 

เรื่องแรก คือ ภาวะที่ภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด ๆ ทำให้เป็นข้อจำกัดความสามารถของธนาคารกลางในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลง

 

เรื่องที่สอง คือ ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และการเมือง ในประเทศ (กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ)

 

เรื่องที่สาม คือ การท้าทายความเป็นมหาอำนาจโลกของจีนที่กำลังท้าชิง มหาอำนาจกับสหรัฐ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

 

3. เหตุการณ์ตอนนี้คล้ายกับช่วงปี 1930-1945 มากๆ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เฮีย Ray กังวลครับ

 

4. “ผมได้ศึกษาประวัติศาสตร์แล้ว ผมเห็นว่าเหตุการณ์ที่มาบรรจบกันแบบนี้ มักจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านกินเวลาประมาณ 10-20 ปี” และเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของทั้งเศรษฐกิจและการเมืองที่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 50-100 ปี

 

5. เฮีย อธิบายต่อว่า ทุกๆครั้งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรครั้งใหญ่จะเกิดการเปลี่ยนไป เปลี่ยนมาหลายอย่าง

 

เช่น อย่างแรก คือ อารมณ์ความรู้สึกที่มีความสุข ชื่นมื่นกับช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ เพราะเป็นช่วงที่ร่ำรวย และสร้างผลิตภาพได้มาก

 

สลับกับช่วงที่มันโหดร้าย หดหู่ และเป็นช่วงที่มีการต่อสู้ระหว่างความร่ำรวยและความเป็นมหาอำนาจ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และทำให้ผลิตภาพสะดุดลง และหลายครั้งก็นำไปสู่การปฏิวัติ หรือสงคราม

 

6. ช่วงเวลาที่ย่ำแย่นี้ เปรียบเสมือนกับการกำจัดจุดอ่อน และสิ่งที่มันเกินมากเกินความจำเป็นเช่น ภาระหนี้สินในระบบที่มากเกินไป

 

การกลับคืนสู่สามัญในแง่ปัจจัยพื้นฐาน (แม้ว่าจะเป็นกระบวนการที่แสนจะเจ็บปวดก็ตาม)

 

“สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการปรับตัว ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะทำให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้น”

 

7. การที่จะตอบปัญหาเหล่านี้ได้ คือการศึกษากลไกที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ระหว่างช่วง 1930-1945, รวมถึงช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำของอาณาจักรอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์

 

และช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำของอาณาจักรจีน

 

การศึกษาสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นตอนนี้ และอะไรคือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

 

================

 

วิธีการศึกษาตามสไตล์ของ Ray Dalio

 

1. แกออกตัวก่อนครับว่า จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่แปลกเหมือนกันสำหรับผู้จัดการกองทุนที่ต้องตัดสินใจลงทุนในระยะสั้น แต่กลับต้องให้ความสนใจในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในอดีต

 

2. แต่จุดที่น่าสนใจคือ วิธีการศึกษาแบบนี้กลับทำให้ผลตอบแทนของ Bridgewater ดีเสมอมา

 

3. ข้อผิดพลาดมากที่สุดของผมตลอดการทำงานที่ผ่านมา มาจากการตกรถรอบใหญ่” แต่จริงก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของแก แต่เกิดขึ้นหลายครั้งในอดีตครับ

 

4. ข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้สอนเฮีย Ray Dalio ว่าจำเป็นต้องเข้าใจว่ากลไกเศรษฐกิจและกลไกตลาดว่าทำงานอย่างไรตลอดในอดีตที่ผ่านมา

 

แกจะศึกษากลไกในอดีตชนิดที่ย้อนกลับไปในอดีตแบบไม่กำหนดเวลา และจะพัฒนาหลักการการรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นในอนาคตแบบไม่กำหนดเวลาเช่นกัน

 

5. “เหตุการณ์ที่สร้าง surprise ครั้งใหญ่ ที่เป็นครั้งแรกที่ผมเคยเจอ คือช่วง 1971” ตอนนั้นเป็นช่วงที่เค้าอายุ 22 ปีครับ และกำลังทำงานเป็นเสมียนอยู่ที่ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

 

6.วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 1971 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อประธานาธิบดี Nixon ที่ประกาศว่าสหรัฐจะไม่รักษาคำมั่นสัญญาโดยได้ยกเลิกการผูกเงินดอลลาร์กับทองคำสำรองของสหรัฐ

 

ตอนนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ค่าเงินร่วงดำดิ่งเลยครับ

 

“ตอนที่ผมฟังคำแถงของ คุณ Nixon ผมมองว่าการที่รัฐบาลสหรัฐผิดสัญญา และมองว่าค่าเงินดอลลาร์น่าจะถึงจุดจบ” ตอนนั้นคุณ Ray คิดว่า ไม่น่าจะดีแน่

 

7. “สิ่งที่ผมทำ ตอนเช้าวันจันทร์คือเดินไปที่ ตลาดหลักทรัพย์ และคาดหวังว่า น่าจะเห็นความโกลาหล” แต่ปรากฏว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยนะครับ

 

แต่แทนที่ตลาดจะร่วงดำดิ่งไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ตลาดหุ้นกลับเด้งขึ้น 4% “ผมรู้สึกช็อคมาก ๆ ผิดคาดแบบสุด ๆ”

 

8. เหตุผลเพราะ ตัวเค้าเองก็ยังไม่ได้เจอปัญหาการอ่อนค่าของค่าเงินมาก่อน ก็เลยไม่คิดว่าผลจะออกมาแบบนี้

 

9. หลังจากเฮีย Ray Dalio ก็เข้าไปดูประวัติศาสตร์และก็เห็นเลยครับว่ามีหลายครั้งที่เกิดการอ่อนค่าเงิน แล้วก็เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นที่คล้าย ๆ กัน

 

10. ถ้าเกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่และครั้งสำคัญเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่น เหตุการณ์ the Great depression

 

“ผมไม่สามารถบอกได้หรอกครับว่า มันจะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผมต้องศึกษาว่ากลไกของมันคืออะไร และเตรียมตัวที่จะรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้น”

 

11. หลัก ๆ แล้วจะทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลลัพธ์

 

“สิ่งที่ผมทำคือ ใช้รูปแบบ if/then” ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แล้วเข้าไปลงทุนอันนี้ ผลลัพธ์จะเป็นยังไง

 

“ผมทำแบบนี้อย่างเป็นระบบ ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้น เราก็จะลงทุนตามสิ่งที่ได้ศึกษามา” แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างจากสิ่งที่เราคิด เราก็จะหาคำตอบให้ได้ว่าเพราะอะไร

 

12. วิธีการของคุณ Ray ไม่ได้เป็นเชิงวิชาการครับ แต่เป็นสิ่งที่สามารถเอาไปใช้ได้จริง และนี่คือวิธีที่เค้าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีเสมอมา

 

13. ความสามารถที่จะคาดการณ์และรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จำเป็นต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น

 

14. และยังต้องเข้าใจด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์ ในอดีตเป็นยังไง

 

================

 

วิธีการศึกษาส่งผลต่อมุมมองของเฮีย Ray Dalio ยังไง?

 

เป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับเพราะปกติเราจะเห็นว่าเฮียแกมองอะไร ก็ทะลุปรุโปร่ง และมีมุมมองที่ลึกกว่าคนอื่นเสมอ

 

  1. วิธีการศึกษาแบบนี้ช่วยทำให้คุณ Ray มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ลึกมากขึ้น

 

“เหมือนกับนักชีววิทยาแหละครับ ที่ต้องบอกได้ว่า สัตว์เป็นสปีชีย์ไหน” และศึกษาเพิ่มเติมว่าแต่ละสปีชีย์ทำงานยังไง

 

2. วิธีการศึกษาแบบนี้ทำให้เปลี่ยนมุมมองของแกไปเยอะครับ ทำให้เห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา

 

ทำให้เข้าใจว่าแต่ละอย่างมีอิทธิพล และส่งผลกระทบกันอย่างไร เช่น วงจรเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการเมือง, แล้วเศรษฐกิจกับการเมืองมีผลต่อกันและกันยังไงในระยะยาว

 

3. การที่เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์ ที่อยู่เบื้องหลังของเหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้คุณ Ray เห็นภาพใหญ่มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เข้าใจภาพในรายละเอียดไปพร้อม ๆ กัน

 

เพราะเป็นการทำความเข้าใจระหว่างสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนานมาก ๆ

 

4. การทำความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้จะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

 

5. ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเวลาผ่านไป คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น เพราะเราเรียนรู้มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดผลิตภาพมากขึ้น

 

แต่เหตุผลที่เรายังเห็นว่าเศรษฐกิจมีขึ้น มีลง เพราะว่าปัญหาวงจรหนี้สินนี่แหละครับ ที่ทำให้เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจ ขึ้น ๆ ลง ๆ

 

6. เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ พลาดโอกาสใหญ่ ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเพราะว่าพวกเราส่วนใหญ่มีประสบการณ์เพียงแค่น้อยนิดกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

 

“พวกเราเหมือนเป็นแค่มด ที่มัวแต่ทำงาน แบกเศษเล็กๆไปมา ในช่วงชีวิตของเรา” เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะมองเห็นภาพใหญ่ทั้งในมุมของรูปแบบที่เกิดขึ้น กับวงจรที่เกิดขึ้น (เรามัวแต่ดูภาพเล็ก ๆ ทำให้ไม่เข้าใจภาพทั้งหมด)

 

7. สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ ความสัมพันธ์แบบไหนที่ผลักดันให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น และตอนนี้พวกเราอยู่ตรงจุดไหนของวัฏจักรนั้นๆ และอะไรบ้างที่เกิดขึ้นบ้าง

 

8. “ผมเชื่อว่าคนเรามีบุคคลิกไม่กี่แบบ ซึ่งจะนำไปสู่เส้นทางไม่กี่เส้นทางของชีวิต” และก็จะนำไปสู่สถานการณ์ไม่กี่อย่าง และนำไปสู่เรื่องราวไม่กี่เรื่อง ซึ่งก็จะฉายหนังซ้ำไปซ้ำมา

 

“สิ่งที่เปลี่ยนไปมีเพียงแค่เสื้อผ้าของตัวละครที่สวมใส่ และเทคโนโลยีที่พวกเค้าใช้ก็เท่านั้น”

 

เป็นปรัชญาที่เอาไปใช้ได้กับทุกเรื่องเลยครับ

 

================

 

ผลลัพธ์จากการศึกษาเป็นอย่างไร?

 

1. การศึกษาวัฏจักรเงินและวงจรสินเชื่อในอดีตที่ผ่านมาทำให้ ระมัดระวังวงจรหนี้ระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 50-100 ปี

 

ตรงนี้จะทำให้เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

 

2. ยกตัวอย่าง เช่น ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือ 0% และกรณีที่ธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมา และเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ในช่วงวิกฤตการเงินปี 2008-2009 และเมื่อวิเคราะห์วิกฤตปี 1930 ก็ยิ่งทำให้เข้าใจวิกฤตมากขึ้น

 

3. และนี่คือสิ่งที่ทำให้เค้าเข้าใจว่า ธนาคารกลางทำไมถึงต้องออกมาตรการ เพื่อผลักดันให้สินทรัพย์ทางการเงินและเศรษฐกิจฟื้น

 

ซึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเงิน และนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง และเป็นยุคของประชานิยม

 

นั่นเป็นสิ่งที่เราเห็นในยุคหลังปี 2009

 

4. “ในช่วงปี 2014 ผมต้องการอยากคาดการณ์ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ เพราะมันเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าจะลงทุนยังไง” และก็นำไปวิเคราะห์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีข้างหน้า

 

5. กระบวนวิเคราะห์แบบนี้ทำให้คุณ Ray สามารถทำความเข้าใจได้ลึกมากขึ้นว่าทำไม บางประเทศถึงมีเศรษฐกิจดี แต่บางประเทศกลับแย่

 

หลังจากนั้นเค้าก็จะเอาปัจจัยเหล่านี้เข้าไปในสมการ เพื่อวิเคราะห์คาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีข้างหน้า มากกว่า 20 ประเทศ

 

6. สิ่งที่เจ๋งคือ การศึกษาแบบนี้ทำให้คุณ Ray เห็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เช่น คุณภาพของการศึกษา และระดับของการเป็นหนี้

 

“ปัจจัยเหล่านี้ในสหรัฐเริ่มแย่ลงเมื่อเทียบกับ จีน และอินเดีย”

 

7. หลังจากที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในปี 2016 และใช้มาตรการประชานิยมมากขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสิ่งที่เห็นจนแทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา

 

ซึ่งนโยบายประชานิยม ก็ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมและการเมืองเหมือนกับช่วงปี 1930 คล้ายกับเหตุการณ์ปัจจุบันเลยครับ

 

8. จากการศึกษาและสังเกตอย่างหนักจะเห็นว่า อเมริกาเจอปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างหนักมากครับ ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจ

 

================

 

3  คำถามชวนคิดที่ต้องการคำถามอย่างเร่งด่วน

 

เริ่มจาก “วงจรเงินระยะยาวและหนี้ระยะยาว”

 

1. แทบจะไม่เคยมีช่วงไหน ในชีวิตของเราที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก ๆ และติดลบ ในบางประเทศ ในขณะที่มีหนี้มากมายขนาดนี้

 

2. นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2020 จะเห็นว่ามีหนี้สินมากถึง 10 ล้านล้านเหรียญที่มีอัตราดอกเบี้ยติดลบอยู่ครับ และไม่ใช่เหตุการณ์ปกติที่หนี้ก้อนใหม่จะถูกนำมาขาย เพื่อชดเชยการขาดดุลครับ

 

3. และเป็นช่วงที่กำลังเกิดปัญหาที่กองทุนบำเหน็จบำนาญ และเงินด้านสาธาณสุข จะถึงกำหนดที่จะต้องจ่าย

 

4. ตรงนี้ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจคือ จะมีใครต้องการถือตราสารหนี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยติดลบ และอัตราดอกเบี้ยจะติดลบได้อีกมากแค่ไหน

 

และเศรษฐกิจและตลาดจะเป็นอย่างไร ถ้าอัตรดอกเบี้ยไม่ต่ำไปมากกว่านี้ และมาตรการของธนาคารกลางจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงภาวะตกต่ำครั้งต่อไปได้อย่างไร

 

5. ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินออกมามากขึ้นหรือไม่ แล้วจะทำให้มูลค่าเงินลดลงหรือป่าว แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าค่าเงินร่วงลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำขนาดนี้

 

6. สกุลเงินสำรอง เป็นเงินที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการทำธุรกรรมและการออมเงิน

 

7. ประเทศที่สามารถพิมเงินที่เป็นสกุลเงินหลัก (ตอนนี้คือสหรัฐ) ก็จะอยู่ในสถานะที่ได้รับสิทธิประโยชน์และมีอิทธิพลมาก

 

8. คำถามคือ เมื่อไหร่แล้วเพราะอะไรที่สกุลเงินดอลลาร์จะเริ่มร่วงลง และสูญเสียตำแหน่งของการเป็นสกุลเงินสำรอง

 

และจะเปลี่ยนโลกที่เรารู้จักอย่างไร

 

================

 

คำถามถัดมาคือ วงจรความมั่งคั่งและวงจรของอำนาจ

 

1. ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง, คุณค่า และการเมืองตอนนี้มีช่องว่าง มากขึ้นมากกว่าที่ตัวของคุณ Ray เคยเห็นมาทั้งชีวิตครับ

 

2. จากการที่ศึกษาในช่วงปี 1930 และยุคก่อนหน้านี้ จะพบว่าฝ่ายไหนที่ชนะการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวาก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นครั้งใหญ่

 

3. ผมสงสัยว่า ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้จะนำไปสู่เรื่องไหน และผลลัพธ์จะเป็นยังไง

 

ผลลัพธ์คือ เศรษฐกิจขาลงครับ และจะมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันว่า จะแบ่งเค้ก แบ่งผลประโยชน์กันยังไง

 

4. ประชาชนและผู้กำหนดนโยบายจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ถ้าเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ 

 

ตอนนี้เฮีย Ray Dalio เริ่มกังวลครับ โดยเฉพาะประเด็นที่ความสามารถในการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ

 

5. นอกจากนี้นโยบายการเงินก็เริ่มไม่ได้ผล เช่นการพิมพ์เงินแล้วก็เข้าซื้อสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า QE และดันไปเพิ่มความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งอีก

 

เพราะยิ่งเข้าซื้อสินทรัพย์การเงินก็ยิ่งทำให้ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นซึ่งนั่นก็จะทำให้คนรวยที่ถือสินทรัพย์การเงินได้ประโยชน์มากกว่าคนที่มีรายได้น้อย

 

================

 

คำถามที่ 3 คือ วงจรความมั่งคั่งและอำนาจระดับนานาชาติ

 

1. นับเป็นครั้งแรกในชีวิตของเฮีย Ray Dalio ที่สหรัฐกำลังเจอความท้าทายจากประเทศอื่นในการเป็นมหาอำนาจ

 

2. จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ท้าชิงคนสำคัญในหลายด้าน และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าสหรัฐ ซึ่งถ้ายังเป็นแบบนี้อีกจีนก็จะแข็งแรงกว่าสหรัฐ

 

3. “ผมเห็นความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการค้า เทคโนโลยี ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์, เงินทุน, เศรษฐกิจ, การเมือง, แนวความคิดทางสังคม”

 

4. คุณ Ray เองก็สงสัยว่าความขัดแย้งเหล่านี้ จะเปลี่ยนระเบียบโลกอย่างไร

 

และจะมีผลกระทบอะไรกับพวกเราบ้าง

 

5. คุณ Ray เชื่ออยู่แล้วครับว่าในท้ายที่สุดปัญหาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ขาลงจะเกิดขึ้นแน่ๆ แต่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดจากโรคระบาด

 

6. สิ่งที่เฮียให้ความสำคัญในการวิเคราะห์มาก ๆ คือ สหรัฐ, ค่าเงินดอลลาร์, ปอนด์ และอังกฤษ, เนเธอร์แลนด์ เพราะเคยเป็นมหาอำนาจมาก่อน

 

7. แต่สิ่งที่ให้ความสำคัญรองลงมากคือ เยอรมนี, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, จีนและอินเดีย

 

8. แต่ถ้าให้เลือก 6 ประเทศ ก็จะเลือกดูที่จีน และดูย้อนกลับไปหลายร้อยปีที่แล้ว เพราะเป็นช่วงที่จีนมีความสำคัญมาก ๆ ตอนนี้ก็มีความสำคัญและอนาคตเองก็เช่นกัน

 

9. ข้อสังเกตคือ มหาอำนาจโลกมักจะรุ่งเรืองประมาณ 250 ปี ซึ่งการศึกษาแบบนี้ทำให้เค้าคุณ Ray เข้าใจประวัติศาสตร์ทำให้การลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีมากขึ้นในระยะยาวครับ

 

========

 

เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต

 

อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย

 

ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน Line@: http://bit.ly/TAM-EIG_LINE
คลิกเลย

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

924

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!