ทำจุดสูงสุงใหม่ น้ำมัน-ถ่านหิน คว่ำบาตรรัสเซีย ทุบเศรษฐกิจโลก

756

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

ทำจุดสูงสุงใหม่ น้ำมัน-ถ่านหิน คว่ำบาตรรัสเซีย ทุบเศรษฐกิจโลก
*สัมภาษณ์ ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565

คุณเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย ได้พูดถึงผลกระทบจาการที่รัสเซียเจอกับการคว่ำบาตรเอาไว้ว่า รัสเซียถูกตัดออกจากระบบ SWIFT จำนวนทั้งสิ้น 7  แต่ยังคงเอาไว้ซึ่ง 2 ธนาคาร ด้วยเหตุผลเรื่องการเอาไว้ซื้อชำระค่าก๊าซและน้ำมันที่ขายให้ยุโรป ซึ่งการถูกตัดออกจากระบบ SWIFT นี้ถือว่าเหนือความคาดการณ์เอาไว้มาก จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นของรัสเซียมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจนต้องมีการปิดทำการ ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่ากว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลเสียอย่างรุนแรง อีกทั้งยังมีเรื่องของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 9.5 % เป็น 20 % และปรับสินเชื่อส่วนบุคคลขึ้นไปอีก 30 % ด้วย 

ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันพุ่ง จริง ๆ แล้วนั้นท่อก๊าซที่ส่งไปทวีปยุโรปยังคงทำงานปกติ ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ยังเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อน้ำมันจากประเทศรัสเซียอยู่ เพราะหากสหรัฐอเมริกาไม่ซื้อ ราคาน้ำมันก็จะยิ่งสูงขึ้น หมายความว่า ขบวนการซื้อขายน้ำมันและก๊าซยังมีอยู่ ท่ามกลางการคว่ำบาตรรูปแบบอื่น

โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการค้าขายกับรัสเซีย ปีที่แล้วไทยส่งออกไปรัสเซียมากถึง 57 ล้านเหรียญสหรัฐและนำเข้าจากรัสเซียประมาณ 1750 ล้านเหรียญสหรัฐผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้ส่งออกอาหาร ที่ทำธุรกิจประเภท SME เพราะไม่ว่าจะเป็นเพราะระบบ SWIFT  ที่ทำให้ไม่สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวก ขณะเดียวกันสำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าในรัสเซียค่อนข้างได้รับผลกระทบอย่างหนักเพราะค่าเงินรูเบิลตอนนี้ลดลงไปกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ หากมีการนำเข้าสินค้าเวลานี้ ก็เท่ากับว่าเป็นของแพงขึ้นโดยทันที

คุณหมู คุณสุวัฒน์ สินสาฎก CFA, FRM, ERP กรรมการผู้จัดการ บล.ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟ เอส เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้พูดถึงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจนน่ากังวลว่า นอกจากสำนักข่าวของอเมริกาหรืออังกฤษแล้ว เราต้องติดตามสื่อในประเทศอื่น ๆ อย่างประเทศจีนหรือรัสเซียด้วย ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ประเทศอเมริกาได้มีการส่งก๊าซไปให้ยุโรปมากถึง 2 ใน 3 ทั้ง ๆ ที่ในช่วงปีที่ผ่านมา รัสเซียจะเป็นผู้จัดส่งก๊าซผ่านท่อผ่านหลายประเทศถึง 50 % แต่ปัจจุบันรัสเวียส่งออกก๊าซลดลงเหลือประมาณ 10-20 % เท่านั้น ซึ่งประเทศที่เข้าไปแทนที่รัสเซียคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาอเมริกาได้มีการผลิตก๊าซ LNG เพิ่มสูงขึ้น คาดว่าสิ้นปีนี้ สหรัฐอเมริกา จะกลายเป็นผู้ส่งออกก๊าซรายใหญ่ที่สุดในโลกแทนประเทศกาตาร์และออสเตรีย 

สหรัฐอเมริกา ได้มีการซื้อน้ำมันจากรัสเซียกว่า 80 % ก็จริง แต่ขณะเดียวกันอเมริกาก็ส่งออกน้ำมันเยอะ แสดงว่าสหรัฐอเมริกาก็ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งตอนนี้ราคาก๊าซในยุโรปก็พุ่งสูงขึ้นถึง 20-30 เหรียญต่อหน่วย คิดเป็นเกือบ 200 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งในประวัติศาสตร์ก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นว่าราคาก๊าซจะแพงกว่าราคาน้ำมันได้ขนาดนี้ กลายเป็นว่าเวลานี้ทั้งถ่านหินและก๊าซมีราคาเพิ่มขึ้นจนแซงหน้าน้ำมันไปหมด ดังนั้น แม้ว่าสงครามครั้งนี้ ดูเหมือนเป็นการรบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน แต่จริง ๆ แล้วผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือสหรัฐอเมริกา

#ถามทันที | ทำจุดสูงสุงใหม่ น้ำมัน-ถ่านหิน คว่ำบาตรรัสเซีย ทุบเศรษฐกิจโลก

ถามอีก กับคุณเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย

และพี่หมู คุณสุวัฒน์ สินสาฎก CFA, FRM, ERP กรรมการผู้จัดการ บล.ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟ เอส เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

คุยอะไรกันบ้าง?

0:00 เริ่มกันเลย

0:51 รัสเซียถูก Sanction

11:20 ทำไมราคาน้ำมันพุ่ง?

13:06 คนกังวลเรื่องน้ำมันมากเกินไป?

26:05 ผลกระทบการค้าขายกับรัสเซีย

31:40 Worst Case และ วิธีจัดการความเสี่ยง

39:24 ราคาน้ำมันขึ้น พังทั้งโลก?

55:00 ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่า

1:00:55 มุมมองการลงทุน วิเคราะห์หุ้น BANPU

1:08:43 ทิ้งท้าย

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 452 | ทำจุดสูงสุงใหม่ น้ำมัน-ถ่านหิน คว่ำบาตรรัสเซีย ทุบเศรษฐกิจโลก

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

TAM-EIG

TAM-EIG

756

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!