รู้จักกลยุทธ์ Global Multi Asset จับโอกาสได้ทุกสภาวะตลาด

493

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

*สัมภาษณ์ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2565

คุณศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด ได้พูดถึงสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เริ่มสูงเกินไปเอาไว้ว่า หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มักจะเกิดขึ้นหลังจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นของธนาคารกลางเพราะมีความจำเป็นต้องคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระดับหนึ่งอาจเป็นระดับที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงหลัง 

ในช่วงปี 2021-2022 ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 4 ครั้ง แต่หลังจากที่สหรัฐได้ประกาศตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อออกมาทำให้ต้องปรับการคาดการณ์เป็น 6-8 ครั้งด้วยกัน สำหรับผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ เช่นในสหรัฐอเมริกา การที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 110-120 ดอลลาร์ ทำให้ต้องปรับประมาณการอัตรา GDP ลดลงครึ่งหนึ่ง สำหรับประเทศไทยนั้นเมื่อมาดู GDP กับราคาน้ำมันแล้ว ปรากฏว่าถ้าหากราคาน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 120-140 ดอลลาร์ คิดว่าการคาดการณ์ประมาณการของ GDP ไทยอาจต้องมีการปรับลงมาที่ 0.5-1 % ฉะนั้นที่ผ่านมาที่เคยมองว่าไทยสามารถเติบโตได้ถึง 4 % ก็ต้องปรับลดลงมาอยู่ที่ 3 %

ปัจจัยที่กระทบต่อการลงทุนในประเทศไทย ได้มีการแบ่งเอาไว้ช่วงครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลัง โดยครึ่งปีแรกนั้น ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากการลงทุนในส่วนของการที่โควิดโอมิครอนมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น, อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น, คาดว่าธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FED จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งจากทั้งหมด 7 ครั้ง, ความตึงเครียดระหว่างประเทศรัสเซียกับประเทศยูเครนที่อาจยังคงดำเนินต่อไป, ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED จะเริ่มทำ QT ในช่วงครึ่งปีแรก, มูลค่าของพันธบัตรและตราสารทุนหลายอย่างเริ่มมีการปรับตัวลดลง

ส่วนครึ่งปีหลัง ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยลงที่อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่นในอนาคต, อัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น, คาดว่าธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FED จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งจากทั้งหมด 7 ครั้ง, สงครามรัสเซียกับยูเครนอาจยกระดับความตึงเครียดมากขึ้น, ราคาน้ำมันเริ่มหยุดปรับตัวเพิ่มขึ้นที่เป็นผลมาจากซัพพลายเพิ่มมากขึ้น, เศรษฐกิจโลกเริ่มมีการชะลอตัวลงและตลาดทุนหลายประเทศเจอกับความผันผวนเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับการปรับพอร์ตการลงทุนควรที่จะมีการปรับบ่อยแค่ไหนนั้น ทางผู้จัดการกองทุนปกติแล้วหากเจอสถานการณ์อะไรก็ตาม พวกเขาก็จะทำการปรับพอร์ตการลงทุนโดยทันทีและทำอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีสถานการณ์อะไรเข้ามา ก็จะเป็นการปรับพอร์ตลักษณะของระยะยาวเป็นหลัก โดยเน้นวางพอร์ตระยะยาวและการลดการเทรดให้น้อยลง หากนักลงทุนชอบสไตล์แบบนี้ก็สามารถช่วยหลบเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นน้อยลงได้

#ถามทันที | รู้จักกลยุทธ์ Global Multi Asset จับโอกาสได้ทุกสภาวะตลาด

ถามอีก กับ คุณศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด

คุยอะไรบ้าง?

00:00 เริ่ม

01:00 อัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงเกินไป?

10:00 กระทบการเติบโตของเศรษฐกิจแต่ละประเทศอย่างไร?

19:07 สรุปปัจจัยกระทบต่อการลงทุน

20:00 กลยุทธ์การลงทุน

29:00 กองทุน Principal Global Asset Allocation (PGAA)

37:00 ราคาน้ำมัน ปัจจัยกดดันเศรษฐกิจในยุโรป

29:15 มองตลาดทั้งปีผันผวน?

41:00 นโยบายการปรับพอร์ต

45:00 ตลาดอเมริกาน่าสนใจยังไง?

58:50 Fund Features กองทุน Principal Global Asset Allocation (PGAA)

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 467 | รู้จักกลยุทธ์ Global Multi Asset จับโอกาสได้ทุกสภาวะตลาด

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

493

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!