รายงานประชุมเฟด รัสเซีย-ยูเครน ทุบฟองสบู่เศรษฐกิจโลก

473

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

*สัมภาษณ์วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงรายงานการประชุมของ FED ในรอบนี้เอาไว้ว่า ดัชนีอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ (DJIA) ในช่วงแรกมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดรอดูผลการประชุมของ FED แต่เมื่อเวลาตี 2 ของประเทศไทยนั้น ตลาดดาวน์โจนส์มีการดีดตัวเพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเทียบกับรายงานฉบับอื่น ๆ แล้ว รายงานฉบับนี้กลายเป็นข่าวดีมากกว่า เมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมาที่ได้เขย่าตลาดโลกไปพอสมควร 

ดร.กอบศักดิ์คิดว่า การออกมาพูดของประธาน FED อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดเกิดความตื่นตระหนกขึ้นมา โดยในเวลานี้หลายฝ่ายเริ่มมีการคาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของ FED เอาไว้หลากหลายมุมด้วยกัน แม้ว่าจะมีการคาดการณ์อย่างไร สุดท้ายตลาดทุนโดยภาพรวมได้มีการซึมซับข่าวเกี่ยวกับ FED เอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในส่วนของตัวเลขภาวะเงินเฟ้อนั้น คาดว่าการที่ FED ไม่ยอมขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาและจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนมีนาคมที่จะมาถึงนี้นั้น จะทำให้ FED เห็นข้อมูลเงินเฟ้อในช่วงเดือนมกราคมกับเดือนกุมภาพันธ์ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ FED สามารถประเมินภาวะเงินเฟ้อที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้ รวมไปถึงประเมินสถานการณ์ไวรัสโอมิครอน ซึ่งไวรัสโอมิครอนนี้ เป็นตัวที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวลง หากสถานการณ์โอมิครอนดีขึ้น คาดว่าทิศทางเศรษฐกิจจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน คาดว่าทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 อาจมีความเปราะบาง แต่เมื่อสถานการณ์โอมิครอนคลี่คลายแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง

เช่นกันจะต้องมาดูว่า ภาวะเงินเฟ้อสามารถปรับตัวลดลงจาก 7 % มาเป็น 2 % ได้หรือไม่ และจะต้องมาดูว่าสหรัฐอเมริกาสามารถประคองตัวเลขเงินเฟ้อได้ราว ๆ 5 % ได้หรือไม่ ซึ่งตามรายงานการประชุมนั้น ทาง FED ได้คาดการณ์ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อจะมีการปรับตัวลดลงมาที่ 2 % ภายในปี 2023 

สำหรับตัวค่าจ้างที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์นั้น เมื่อมาอ่านรายงานของ FED แล้ว จะเห็นได้ว่า เหตุผลที่ทำไมทางบริษัทถึงขึ้นค่าจ้างสูงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประคองไม่ให้พนักงานลาออก คาดว่าบริษัทหลายแห่งได้มีการซึมซับภาวะเงินเฟ้อในเบื้องต้นเอาไว้ก่อนแล้ว

ดร.กอบศักดิ์ได้กล่าวถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครนเอาไว้ว่า เรื่องนี้ทาง FED เองก็รู้สึกกังวลใจเหมือนกันว่า สถานการณ์ทั้งสองประเทศมีความเสี่ยงที่จะมีการทำสงครามกัน รวมไปถึงเวลานี้ทั้งสองประเทศมีการปล่อยข่าวลวงไปมา เมื่อมาดูสถานการณ์ภายในประเทศรัสเซียนั้น ดร.กอบศักดิ์เห็นว่า เวลานี้รัสเซียกำลังต่อสู้รับมือกับภาวะเงินเฟ้อในประเทศ รวมไปถึงหนี้สินของรัฐบาล พร้อมกับตั้งคำถามว่า คนที่เป็นหนี้เยอะขึ้น อยู่ ๆ จะเอาจำนวนเงินพอสมควรมาเคลื่อนย้ายกองทัพแล้วไปซ้อมรบไปขณะนี้เพื่ออะไร? 

นอกจากนั้น ดร.กอบศักดิ์ได้ให้เหตุผลที่ทำให้เกิดวิกฤตระหว่างรัสเซีย-ยูเครนว่าเอาไว้ 3 ข้อด้วยกันก็คือ 1.นาโต้ (Nato) คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตขึ้นมา เนื่องจากรัสเซียไม่อยากให้ยูเครนซึ่งเป็นประเทศที่ติดกันเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกนาโต้ ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพในทางการเมืองระหว่างประเทศ จึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รัสเซียต้องใช้กำลังข่มขู่เพื่อบีบบังคับไม่ให้ยูเครนเข้านาโต้ 2.มาจากการที่รัสเซียอยากได้พื้นที่พรมแดน โดยที่รัสเซียเคยทำได้ในกรณีแบบเดียวกับที่เคยทำกับไครเมียร์มาก่อนหน้านี้แล้ว 

และข้อสุดท้ายก็คือ การทำแบบนี้ทำให้ต้นทุนสินค้าอย่างเช่นน้ำมันและก๊าซพุ่งสูงขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศรัสเซียได้ประโยชน์จากสินค้าตรงนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศรัสเซียไม่ได้ดีนักในเวลานี้

#ถามทันที | รายงานประชุมเฟด รัสเซีย-ยูเครน ทุบฟองสบู่เศรษฐกิจโลก

ถามอีก กับ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

คุยอะไรกันบ้าง?

1:04 ตลาดไม่ได้แสดงความตกใจจากรายงานประชุม FED รอบนี้

15:19 อัตราเงินเฟ้อ และ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

29:34 ค่าจ้างเร่งตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

31:11 ลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่เร็วขึ้น

36:42 การถอนสภาพคล่อง ลดขนาดงบดุล

41:22 ประเด็นอื่น ๆ จากรายงานการประชุม

49:55 รัสเซีย ยูเครน เข้ามาเป็นตัวแปรและทำให้เงินเฟ้อยืดยาว?

1:11:00 ราคาน้ำมัน

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 435 | รายงานประชุมเฟด รัสเซีย-ยูเครน ทุบฟองสบู่เศรษฐกิจโลก

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

473

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!