ทำไมค่าเงินบาทแข็งค่ามาตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมา

1011

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

ทำไมค่าเงินบาทแข็งค่ามาตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมา

ช่วงนี้ค่าเงินเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต่างจับตามอง เพราะการขยับขึ้นหรือลงของค่าเงินบาทกระทบหลายฝ่าย อยู่ที่ว่าใครจะได้ประโยชน์หรือใครจะเสียประโยชน์⁣

ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี เกิดอะไรกับค่าเงินบาทในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย⁣ ได้ไล่เรียงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบต่อค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ก่อนค่าเงินจะอ่อนค่ามากให้ฟัง⁣

บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัมภาษณ์ ฟังคลิปเต็มได้ที่ https://youtu.be/oaqTHHFLzek⁣

“ช่วงปี 2014 เป็นช่วงที่การท่องเที่ยวของไทยค่อย ๆ มีบทบาทมากขึ้น จำนวนคนที่เข้ามาเที่ยวก็เอาเงินเข้าประเทศมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อนำไปใช้จ่ายในไทย ท่องเที่ยวเป็นตัวหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทในช่วงก่อนโควิด-19 แข็ง ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นปัญหาของทางธนาคารแห่งประเทศไทยมาตลอด ว่าถ้าการท่องเที่ยวดี ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งจะไปมีผลกระทบต่อผู้ส่งออกเพราะกระทบความสามารถในการแข่งขัน ⁣

พอมาช่วงปี 2017 FED เขาปิดเกม QE (Quantitative easing) ไป มีแนวคิดที่อยากจะลดงบดุล หลังจากวางแผนที่จะปรับให้นโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ FED ก็เริ่มทำ QT (Quantitative tightening) ลดปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาด ซึ่งถ้าไม่มีตัวแปรอื่นดอลลาร์ควรจะแข็ง (เงินบาทอ่อน) แต่เพราะไทยเรามีนักท่องเที่ยวเกือบ 40 ล้านคนช่วงก่อนโควิด-19 เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่คนยังขนเงินจากต่างประเทศมาเยอะ มาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทเพื่อเอามาใช้ในไทย ทำให้เงินบาทยังแข็งค่า⁣

นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติก็สนใจทั้งหุ้นและตราสารหนี้ของไทย ซึ่งการลงทุนในไทยตอนนั้นเหมือนได้โบนัสจากผลตอบแทนของอัตราแลกเปลี่ยนไปด้วย เพราะฉะนั้น ช่วงก่อนโควิด-19 ก็จะมีตัวแปรหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนโยบายของ FED นักท่องเที่ยว ดุลบัญชีเดินสะพัด และเงินที่ไหลเข้าไหลออกจากการเก็งกำไรเรื่องของค่าเงินบาท”⁣

ซึ่งแน่นอนครับ ต้องบอกว่าช่วงโควิด-19 ทำให้ฝันของเมืองท่องเที่ยวแบบเราสลาย เพราะจากที่ไทยเราเคยมีนักท่องเที่ยวเกือบ 40 ล้านคนต่อปี จำนวนนักท่องเที่ยวก็ลดลงกลายเป็น 0 แล้วปัญหาที่เจอก็กลับเป็นตรงกันข้ามกับช่วงก่อนหน้านั้น⁣

“ ช่วงโควิด-19 กลายเป็นว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของเราขาดดุล ปีที่แล้วที่ดูเหมือนว่าเงินบาทค่อนข้างจะขี้เหร่ เพราะว่ามีการขาดดุลแฝด ซึ่งก็คือรัฐบาลก็ขาดดุล แล้วประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก ทำให้ปีที่แล้วค่าเงินเลยอ่อนมากเป็นเหมือนเป็ดขี้เหร่ของภูมิภาค ⁣

จนมาถึงต้นปี 2022 ค่าเงินเริ่มอ่อนค่า เพราะเรื่องของสงครามเข้ามากดดัน ทำให้เศรษฐกิจโลกแปรปรวน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง ไทยเลยเราเป็นจำเลยในฐานะที่ต้องนำเข้าน้ำมันค่อนข้างจะสูง บางช่วงนี่หลายเปอร์เซ็นต์ต่อ GDP ซึ่งแม้ว่าการท่องเที่ยวไทยจะเริ่มดีขึ้น แต่ว่ายังไม่สามารถชดเชยตัวแปรอื่น ๆ เช่น การที่สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นได้ ”⁣

สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนถือว่าเปลี่ยนบริบทไปค่อนข้างจะเยอะ เพราะรัสเซียผลิตน้ำมันเกือบ 11 ล้านบาเรลต่อวัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 11% ของปริมาณทั่วโลก อีกทั้งยูเครนและรัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีหลักรวมกันเกือบ 30% ของโลกอีกด้วย เมื่อเกิดสงครามก็ทำให้น้ำมันและข้าวสาลีตรงนี้หายไป ⁣

แต่ผลกระทบโดมิโนนี้ก็ทำให้นโยบายการเงินของทางสหรัฐอเมริกาก็ต้องปรับตัวเหมือนกัน เราจะเห็นว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเมริกาเกือบครึ่งหนึ่งมาจากเรื่องของพลังงาน ซึ่ง FED ก็เริ่มมีท่าทีกังวลกับการที่เงินเฟ้อมาจากทั้งด้านต้นทุนและทางด้านอุปสงค์ด้วย ⁣

“ เราจะเห็นว่าสิ้นปีที่แล้ว FED บอกว่าเงินเฟ้อเป็นภาวะชั่วคราวไม่ต้องกังวลมากนัก อีกไม่กี่เดือนมากลับลำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตลาดก็เลยแตกตื่นว่าทำไมอยู่ ๆ เปลี่ยนแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเลย ทำให้ Bond Yield ก็ขึ้นกันหมด ตราสารหนี้ที่ต่างชาติถือในไทยก็โดนเทขายไปด้วย ” ⁣

สิ่งที่ต้องจับตาถัดไปก็คือ FED จะจัดการอย่างไรต่อไปกับเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาที่สูงสุดในรอบ 40 ปี คาดการณ์กันว่า FED น่าจะต้องปรับดอกเบี้ยอย่างค่อนข้างจะดุเดือด และเมื่อปริมาณดอลลาร์ในโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ดอลลาร์แข็งค่า และหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะทำให้เงินบาทเราปั่นป่วนไปด้วยเช่นกัน⁣

ติดตามความรุ้และอัปเดต “TAM-EIG_ลงทุนนอก ต้องออกไปให้รู้”⁣
https://bit.ly/3PBKuYi

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

1011

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!