#Punphol101 Ep.33 ลงทุนในกองทุน Active vs. Passive ด้วยกลยุทธ์ Core-satellite Portfolio

313

ลงทุนในกองทุน Active vs. Passive ด้วยกลยุทธ์ Core-satellite Portfolio

ทำไมต้องเข้าใจกองทุนแบบ Active vs. Passive?

 

การซื้อกองทุนเปรียบเสมือนการขึ้นเครื่องบิน โดยจะมีผู้จัดการกองทุนเปรียบเสมือนกัปตัน คอยควบคุมและกำหนดทิศทาง

 

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่จะต้องรู้ก่อนการลงทุนในกองทุน คือกัปตันเป็นสไตล์ไหน หรือมีกลยุทธ์ในการบริหารกองทุนเป็นอย่างไร

ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกรคาดหวังผลตอบแทนให้กับเรา

รู้จักกับสไตล์ของผู้จัดการกองทุน 

 

กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Fund 

 

– เป้าหมายในการลงทุน

   พยายามเอาชนะตลาด หรือสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิง (Benchmark)

 

– ผู้จัดการกองทุน

   เลือกหลักทรัพย์เข้าพอร์ต โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ 2 แบบ

 

1. Top-down Analysis วิเคราะห์จากภาพรวมเศรษฐกิจ และลงไปในระดับอุตสาหกรรม ก่อนที่จะเลือกหุ้นแต่ละตัวจากปัจจัยพื้นฐาน 

 

2. Bottom-up Analysis ตรงกันข้ามจากวิธี Top-down คือเป็นการเลือกตัวหลักทรัพย์ก่อนที่จะพิจารณาปัจจัยด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ

 

– ตัวชี้วัด

   ยิ่งทำผลตอบแทนได้มากกว่าตลาดเท่าไหร่ ยิ่งเป็นกองทุน Active ที่ดี

รู้จักกับสไตล์ของผู้จัดการกองทุน

 

กลยุทธ์การลงทุนแบบ Passive Fund

 

– เป้าหมายในการลงทุน

เน้นการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ให้มากที่สุด 

 

– ผู้จัดการกองทุน

วิเคราะห์น้อยกว่ากองทุนแบบ Active  เพราะเน้นลงทุนตาม Benchmark 

 

– ตัวชี้วัด

กองทุน Passive ที่ดีต้องเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาดหรือดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ของกองทุนนั้น ๆ

จุดเด่น & ข้อควรระวัง ของกองทุนแบบ Active 

 

จุดเด่น

 

1. มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามภาวะตลาด ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าในช่วงที่ตลาดไม่ไปไหน

 

ข้อควรระวัง

 

1. มีการกระจุกตัวของสินทรัพย์ที่ลงทุนค่อนข้างมาก เพราะการลงทุนแบบจับจังหวะตลาด ซึ่งตามมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น (High Risk High Return)

 

2. ผลตอบแทนขึ้นกับความสามารถของผู้บริหารกองทุน ซึ่งมีโอกาสเลือกหุ้นพลาดหรือทำผลตอบแทนแย่กว่าตลาด

 

3. กองทุนมีค่าบริหารกองทุน (ค่าธรรมเนียม) ที่ค่อนข้างสูง

จุดเด่น & ข้อควรระวัง ของกองทุนแบบ Passive 

 

จุดเด่น

 

1. ความเสี่ยงในเรื่องของการเลือกหุ้นผิดตัวต่ำกว่าแบบ Active

 

2. ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ อยู่ในระดับเดียวกับดัชนี เพราะกองทุนรวมลงทุนตามดัชนีที่ใช้อ้างอิง

 

3.ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมต่ำกว่าแบบ Active เนื่องจากเป็นการลงทุนตามดัชนีอ้างอิง จึงลดต้นทุนในการบริหารจัดการ

 

ข้อควรระวัง

 

1. ถ้าดัชนีไม่วิ่งไปไหน กำไรจากกองทุนแบบ Passive มีโอกาสไม่ทำกำไรเลย 

 

2. เมื่อเป็นตลาดขาลง กองทุน Passive อาจไม่สามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตเพื่อถือเป็นเงินสด ซึ่งกองทุนรวมแบบ Active จะได้เปรียบตรงจุดนี้ เนื่องจากผู้จัดการกองทุนปรับพอร์ตได้ตามภาวะของตลาด

 

3. มีเป้าหมายเพื่อ “สร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี” เท่านั้น จึงไม่สามารถคาดหวังการเอาชนะตลาดได้

ลงทุนในกองทุน Active vs. Passive 

 

กลยุทธ์ Core-satellite Portfolio 

 

– กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับทุกสภาวะตลาด สามารถสร้างผลตอบแทนตามการเติบโตของตลาดระยะยาว ขณะเดียวกันก็ไม่พลาดโอกาสทำกำไรที่สูงขึ้นจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้น

 

– โดยเราสามารถลงทุนได้ในทั้งกองทุน Active Fund และ Passive Fund โดยการแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน

กลยุทธ์การลงทุนในกองทุน Active vs. Passive 

 

กลยุทธ์ Core-satellite Portfolio 

 

1. Core Portfolio (การลงทุนส่วนหลัก)

 

– เป็นการลงทุนที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายประเภท (Asset Allocation) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด

 

– เหมาะกับการบริหารการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive) ที่มีการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตไม่บ่อย ทำให้มีต้นทุนการบริหารที่ต่ำ และได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดในระยะยาว

 

หลักการเลือกกองทุน Passive Fund 

 

– เลือกลงทุนในกองทุนที่ให้ผลตอบแทนในอดีตใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ให้มากที่สุด โดยพิจารณา Tracking Error 

 

– ปัจจัยที่ทำให้เกิด Tracking Error สูง คือวิธีการลงทุนของกองทุนที่อาจไม่ได้ลงทุนในหุ้นทุกตัวตามดัชนีจริง ๆ หรือการเก็บค่าธรรมเนียมที่มากกว่าควรจะเป็น

กลยุทธ์การลงทุนในกองทุน Active vs. Passive 

 

กลยุทธ์ Core-satellite Portfolio 

 

2. Satellite Portfolio (การลงทุนส่วนเสริม) 

 

– วัตถุประสงค์เพื่อหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนส่วนหลัก เน้นการลงทุนระยะสั้นหรือกลาง

 

– ควรเป็นการบริหารการลงทุนแบบ Active เนื่องจากคาดหวังผลตอบที่สูงกว่าตลาด และมีความเสี่ยงสูงกว่า Core Portfolio

 

หลักการเลือกกองทุน Active Fund 

 

– ควรเลือกกองทุนที่เอาชนะ Benchmark ได้หรือชนะกองแบบ Passive ได้ต่อเนื่อง โดยดูผลการดำเนินงานในอดีต (แม้จะไม่การันตีถึงผลตอบแทนในอนาคต แต่ก็สามารถบอกได้ว่าผู้จัดการกองทุนเเก่งแค่ไหน) 

กองแบบไหน เหมาะกับใคร

 

Active Fund

 

1. นักลงทุนที่เน้นโอกาสการทำกำไรระยะสั้น เพราะกองทุนสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามภาวะตลาด

ทำให้มีโอกาสสร้างกำไรได้มากกว่าในช่วงที่ตลาดไม่ไปไหน

 

2. นักลงทุนที่ยินดีที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าเพราะเชื่อในฝีมือของผู้จัดการกองทุน  

 

Passive Fund

 

1. นักลงทุนที่อยากลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว 

 

2. ไม่ค่อยมีความรู้หรือไม่มีเวลาในการวิเคราะห์หาหุ้นรายตัว 

 

3. นักลงทุนที่ไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมกองทุนที่สูงกว่า และเชื่อว่ากองทุนรวมหุ้นส่วนใหญ่แพ้ตลาด

ข้อคิดเกี่ยวกับ “ค่าธรรมเนียม”

 

“กองทุนแบบ Active ค่าธรรมเนียมการจัดการสูงกว่ากองทุน กองทุนแบบ Passive”

 

1. ระวังการเก็บค่าธรรมเนียมแพง แต่ทำผลงานไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะกองทุน Active Fund 

 

2. แต่ก็อย่าเห็นแก่ค่าธรรมเนียมถูกเพียงอย่างเดียว ต้องดูผลการดำเนินควบคู่ไปด้วย 

 

3. ระวังกองทุน Passive ที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมมากเกินกว่าที่วครจะเป็น ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนกองทุนผิดเพี้ยนไปจาก Benchmark ได้

“ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่สามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว”

 

Warren Buffett

 

ทำให้ปู่ชื่นชอบและแนะนำให้ลงทุนแบบ Passive แต่แนวคิดนี้ของ Warren Buffett อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าตลาดหุ้นเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) 

 

นั่นหมายถึงมีผู้เล่นมากราย และผู้เล่นทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกัน 

 

ในต่างประเทศมีการเก็บสถิติในระยะยาวพบว่า มีผู้จัดการกองทุนแบบ Active Fund น้อยคนนักที่จะสามารถทำผลตอบแทนได้มากกว่าตลาด ยิ่งระยะยาวเท่าไหร่ Passive Fund ก็มีแนวโน้มที่จะดีกว่า Active Fund มากขึ้นไปด้วย 

 

แต่สำหรับ ‘ตลาดหุ้นไทย’ ที่มีขนาดเล็กและมีผู้เล่นน้อยรายกว่ามากแล้ว ยังมี Active Fund ที่ยังสามารถทำผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดได้อยู่

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต⁣

ติดตามทั้ง 15 ช่องทางของถามอีก กับอิก Tam-Eig ได้ทางลิงค์นี้⁣

 

https://links.tam-eig.com/m/TAM-EIG-Channels

 

TAM-EIG

TAM-EIG

313

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!