หุ้นกู้ PTT กับก้าวถัดไปสู่ผู้นำนวัตกรรมพลังงานแห่งอนาคต
ในวันที่โลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกธุรกิจตอนนี้มีโอกาสถูก disrupt จากทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา
ธุรกิจที่จะอยู่รอด คือธุรกิจที่ปรับตัวได้ทันโลก เช่นเดียวกับบริษัทที่ขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งมากที่สุดแห่งหนึ่งในไทย
และเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดที่สูงสุดในประเทศไทยอย่าง บมจ.ปตท. ก็ต้องปรับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน
วันนี้ บมจ.ปตท. กำลังพลิกโฉม ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจอย่างไร และล่าสุดกำลังอยู่ในช่วงระดมทุนผ่านหุ้นกู้ เพื่อนำเงินไปต่อยอดด้านไหน
#TAMEIG ชวนเพื่อน ๆ นักลงทุนมาวิเคราะห์หาโอกาสลงทุนกันครับ
เพื่อน ๆ นักลงทุนลองคิดภาพตามผมนะครับ สมมติว่าถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทไหนก็ตาม สิ่งที่เราอยากจะรู้ก็คือ ลูกหนี้ทำธุรกิจอะไร และมีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน เพราะจะได้มั่นใจว่าจะมีศักยภาพในการจ่ายเงินคืน
การลงทุนในหุ้นกู้เองก็เช่นกัน เพราะผู้ถือหุ้นกู้ก็มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้
ก่อนอื่น #TAMEIG ชวนมาทำ ความรู้จัก กับ บมจ.ปตท. กันก่อนครับ
ปัจจุบัน บมจ.ปตท. ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร และมีกลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.06 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก set.or.th ณ วันที่ 29 เมษายน 2565) มีธุรกิจในเครือเยอะมาก ซึ่งปัจจุบันมี 4 ธุรกิจหลักประกอบด้วย
1. กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ เป็นธุรกิจต้นน้ำ เช่น ธุรกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ, ธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ, ธุรกิจค้าปลีกก๊าซธรรมชาติ และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งมีทั้งที่บริษัทดำเนินการเองและลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ PTTEP
2. กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย จะครอบคลุมทั้งธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ, หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น และธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก โดยลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. อาทิ GC Thai Oil IRPC และ OR เป็นต้น
3. กลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะเน้นไปที่ Future Energy การสรรสร้างพลังงานแห่งอนาคต โดยเน้นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร พร้อมทั้งมุ่งเข้าสู่ธุรกิจใหม่ (Beyond) เช่น ธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ธุรกิจเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และดิจิทัล รวมถึง ธุรกิจไฟฟ้า เป็นต้น โดยลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. อาทิ GPSC เป็นต้น
4. กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ เช่น บริษัท ปตท. ศูนย์บริหารเงิน จำกัด เป็นต้น
ถ้าดูผลการดำเนินงานย้อนหลังจะเห็นว่าไม่ธรรมดาครับ
บมจ.ปตท. ปี 2020 มีรายได้รวม 1.6 ล้านล้านบาท กำไรสุทธิ 3.8 หมื่นล้านบาท
ส่วนปี 2021 มีรายได้รวม 2.3 ล้านล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 แสนล้านบาท
เพราะฉะนั้น ไม่แปลกใจเลยครับว่าทำไม หุ้นกู้ที่ออกเสนอขายครั้งนี้ถึงได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ระดับ AAA (tha) โดย บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดสำหรับตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทย
ไม่ใช่เพียงแค่นี้ ในปี 2564 ที่ผ่านมา บมจ.ปตท. ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 สะท้อนการยอมรับในระดับโลกถึงความมุ่งมั่นของ ปตท. ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในมุมของนักลงทุน ก็จะลงทุนได้อย่างสบายใจในระยะยาวด้วยครับ
“Powering Life with Future Energy and Beyond” เป็นวิสัยทัศน์ใหม่ของ บมจ.ปตท. ที่มุ่งขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต ที่ไม่ใช่แค่เป็นฟันเฟืองสำคัญในธุรกิจพลังงานของประเทศ แต่ยังเป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ด้วยการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ว่าในวันนี้ บมจ.ปตท. จะมี Business Model ที่แข็งแรง สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง แต่ทีมผู้บริหารก็พร้อมจะปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการทำธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคตครับ
โดยหลัก ๆ แล้ว บมจ.ปตท. จะเดินหน้าเปิดเกมรุกลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานแห่งอนาคต (Future Energy) เช่น
– ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด (Renewable Energy) ผ่านการลงทุนในบริษัท GPSC และบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด (GRP) (ปตท. ลงทุนร่วมกับ GPSC) เพื่อขยายและเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตที่ 12,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573
– ธุรกิจระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage & System Related) โดย ปตท. ได้ร่วมลงทุนกับ GPSC เพื่อจัดตั้งนูออโว พลัส จำกัด (NUOVO PLUS) เพื่อสนับสนุนการลงทุนในห่วงโซ่ธุรกิจแบตเตอรี่ (Battery Value Chain) รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนให้สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
– ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร (EV Value Chain) ผ่านการลงทุนในบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) และ บริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร สร้างระบบนิเวศสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เช่น
– ธุรกิจผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำอย่าง Foxconn โดยได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท Horizon Plus
– ธุรกิจจัดจำหน่ายและติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ On-Ion ครอบคลุมทำเลศักยภาพ
– ธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เช่น บริการให้เช่ายานยนต์ไฟฟ้า บริการข้อมูลสถานีอัดประจุไฟฟ้า ไปจนถึงสถานีซ่อมแซมยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านการลงทุนในบริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVME PLUS)
– ธุรกิจแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายสลับแบตเตอรี่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ ภายใต้แบรนด์สวอพ แอนด์ โก (Swap & Go) เป็นต้น
การศึกษาโอกาสในธุรกิจ Hydrogen