“Sense of Urgency” ทักษะที่ทุกคนต้องมี…ก่อนที่จะสายเกินไป
เคยสงสัยเหมือนผมไหมครับว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงประสบความสำเร็จไม่เท่ากัน บางคนรวยมาก หลายคนรวยโคตรๆ แต่บางคนทำยังไงก็ทำไม่ขึ้น ทั้งๆที่คิดว่าตัวเองขยันมากพอแล้ว
“องค์กรส่วนใหญ่ล้มเหลว มากกว่า 80%” “ส่วนถ้าเป็นระดับบุคคล คนที่อยากเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ล้มเหลวเกือบหมด” เป็นคำพูดของ คุณ Brigita Tomas ที่ปรึกษาธุรกิจชื่อดังครับ
เหตุผลสำคัญอยู่ที่ “Sense of Urgency” ครับ แปลเป็นไทยง่ายๆ คือ ขาดความรู้สึกว่าต้องทำอะไรแบบด่วนๆ ส่วนใหญ่จะชอบทำตัวชิลๆจนกว่าจะตกอยู่ภาวะคับชันแล้ว
================
เอาให้เห็นภาพแบบนี้ครับ
จะมีสักกี่คนที่จะเริ่มดูแลสุขภาพ ถ้ายังไม่ป่วย
จะมีสักคนที่อยากตั้งใจเก็บเงินเต็มที่ ถ้ายังไม่ตกงาน
จะมีสักกี่คนที่จะแสดงความรักกับแฟนเต็มที่ ถ้าแฟนยังไม่ทิ้งกันไป
.
เริ่มเข้าใจ Sense of urgency มากขึ้นไหมครับ มันเหมือนจะมีพลังพิเศษ ตามสัญชาตญานของคนที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แต่มันมักจะมา ตอนที่ตกอยู่ในภาวะคับขันเท่านั้น
.
แต่หลายครั้ง กว่าเราจะเริ่มรู้ตัวว่าต้องปรับปรุงตัวเอง เปลี่ยนตัวเอง ก็อาจจะสายเกินไปแล้ว
================
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้คุยกับ พี่หมู วรวุฒิ อุ่นใจ หัวเรือใหญ่ของ COL ยักษ์ใหญด้านธุรกิจจำหน่ายเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน รวมไปถึงสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ผ่านออนไลน์
“คุณอิก ครับกว่าผมจะมาถึงทุกวันนี้ได้ มันเกิดจากการมี sense of urgency ครับ” เป็นบทสรุปที่พี่หมูเล่าให้ผมฟัง ว่าทำไมธุรกิจครอบครัวเล็กๆถึงเติบใหญ่เป็นธุรกิจรายได้หมื่นล้านบาทได้ ในเวลาไม่กี่ปี
ตอนสมัยที่พี่หมูยังเรียน ป.ตรี คุณพ่อบอกลูกๆว่า “กำลังจะหนีหนี้” ธุรกิจกำลังจะเจ๊ง นั่นเป็นครั้งแรกที่พี่หมู สัมผัสและเข้าใจความหมายของ sense of urgency ได้ชัดเจนที่สุดครับ
พี่หมูและพี่น้องได้รวบรวมสินค้าภายในบ้าน ร่วมๆ เกือบพันรายการ แล้วมาทำ price list ที่บอกชัดเจนเลยว่า ปากกายี่ห้ออะไร ราคาเท่าไหร่ ถ้าคุณซื้อ คุณจะได้แบบนั้นเปะๆ (สมัยนั้นลูกค้าสั่งซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียน ยังได้สินค้าไม่ครบ หรือไม่ใช่ตามที่สั่ง เป็นปัญหาที่ปวดหัวอย่างมาก พี่หมูเลยเห็นโอกาสที่จะ)
แล้วหลังจากนั้นก็ตระเวณเคาะประตู หน้าบ้านลูกค้า อาคารสำนักงานต่างๆ ด้วยตัวเอง ทำแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และนั่นทำให้ธุรกิจครอบครัวรอดพ้นจากภาวะคับขันครั้งนั้น
พี่หมูได้บทเรียนครั้งใหญ่ และนำมาใช้กับองค์กร โดยให้ทุกคนเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ให้ทุกคนรู้สึกถึงภาวะความ sense of urgency รู้สึกถึงความด่วน รู้สึกว่าอยากจะปรับกลยุทธ์รับมือการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยที่ไม่จำเป็นต้องตกอยู่สถานการณ์ยากลำบากไปเสียก่อน
นั่นแหละครับ คือ เคล็ดลับความสำเร็จที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวที่เกือบเจ๊ง กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มียอดขายทะลุ 12,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
“หลายคน หลายองค์กรเป็นเหมือน กบที่ถูกต้มในน้ำร้อน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิไปเรื่อยๆก็ยังไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ กลายเป็นกบต้มสุกอีกแล้ว”
เป็นคำพูดทิ้งท้ายของพี่หมู ครับ
================
“ลองให้นึกดูเล่นๆก็ได้ว่า ถ้าเราเป็นนักลงทุน เรายังอยากจะลงทุนในตัวเราเองไหม หรืออยากจะลงทุนในองค์กรเราไหม ถ้าไม่… คุณเองก็ต้องรีบปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ” เป็นสิ่งที่คุณ Brigita Tomas ย้ำหลายรอบครับ
ผมเห็นด้วยกับทั้งพี่หมู และคุณ Tomas เพราะสังเกตให้ดีช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง หลายบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ก็เจ๊งไม่เป็นท่า หลายบริษัทก็ผงาดขึ้นมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในเวลาอันสั้น
ถ้าเราไม่เริ่มต้นสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์กร มี sense of urgency ซึ่งต้องเริ่มจากการเห็นความสำคัญของผู้นำองค์กรเอง
ถึงวันนึง คุณเองก็จะถูกคู่แข่งบังคับให้ต้องเปลี่ยน และถ้าถึงวันนั้น…..เราอาจจะไม่มีที่ยืนบนเวทีธุรกิจก็เป็นได้
================
ไม่อยากพลาด! Add [email protected] ไว้นะครับ �คลิก https://line.me/ti/p/%40Eig_Banphot