Facebook page: ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน
โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข ที่ปรึกษาการเงิน AFPTtm
===========
DTC ทำธุรกิจอะไรครับ?
ปัจจุบัน กลุ่ม DTC ทำธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท อยู่ในวงการมานานกว่า 70 ปีแล้วครับ ครอบคลุม 13 ประเทศ
“ตอนนี้มีทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การบริหารของ DTC 269 แห่ง แบ่งเป็นเจ้าของเอง 9 แห่ง และบริหารโรงแรมให้ที่อื่นรวมกัน 260 แห่ง” คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ สุดยอด CEO ของค่าย DTC บอกด้วยเสียงอ่อนหวานครับ J
โดยเตรียมบริหารโรงแรมอื่นๆ อีก มากกว่า 60 แห่ง และอยู่ในวงการการศึกษานานกว่า 25 ปี
===========
ประวัติ DTC โชกโชนมาก

ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1948 โดยช่วงแรกเน้นขยายธุรกิจในประเทศเป็นหลัก
โดยคุณชนินทร์ เข้ามาเป็นผู้บริหารสูงสุดรับช่วงต่อ ในปี 2006 และเริ่มหันมาเน้นกลยุทธ์บริหารให้กับโรงแรมอื่น (มีลงทุนครั้งใหญ่ ที่มัลดีฟ และที่อื่น)
ส่วนคุณศุภจี เข้ามาเป็น CEO ในปี 2016 โดยจะเน้นให้พอร์ตของ Dusit มีความหลากหลายมากขึ้น

“ก่อนหน้านี้เน้นบริการ Full service อย่างเดียว คือ ให้บริการครบวงจร” เช่น brand Dusit Thani, Dusit Devarana และเริ่มขยายตลาดระดับกลางมากขึ้นคือ โรงแรม Dusit D2
คุณศุภจี อธิบายต่อว่า ผู้บริหารเห็นโอกาสนักท่องเที่ยวกลุ่มคนรุ่นใหม่ Millenials เลยเปิดตัวโรงแรมแบบใหม่ ASAI ที่จะเน้น lifestyle และ boutique มากขึ้น “ปัจจุบันมีโรงแรมที่เตรียมสร้างทั้งหมด 5 แห่ง ทั้งในไทย ฟิลิปปินส์ เมียนมา”
ไม่ใช่แค่นี้ครับ แต่ DTC ยังต้องการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย Residence ที่บริเวณหัวถนน สีลม “โดยมองว่า จะเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนคืนทุนภายใน 2-3 ปี”
นอกจากนี้ยังได้ซื้อ บริษัท Elite havens ในสิงคโปร์ เน้นบริการ villa ระดับสูง โดยมีเชฟประจำวิลล่า เป็นแบบส่วนตัว
และยังมีการลงทุนใน startup favstay เป็นสตาร์ตอัพให้จองที่พัก
“ต้องการให้บริการที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวยุคใหม่”
===========
โครงสร้างธุรกิจเป็นอย่างไร?

DTC แบ่งเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ
1. ธุรกิจโรงแรม (รายได้รวม สัดส่วน 85% ของรายได้ทั้งหมด) ส่วนใหญ่ยังมาจากโรงแรมของตัวเองในขณะที่รายได้จากการบริหารโรงแรมอื่นมีเพียง 4-5%
2. ธุรกิจการศึกษา
3. ธุรกิจ Mixed use project เช่น โรงแรม, residence, ออฟฟิศสำนักงาน, ค้าปลีก (ไม่จำเป็นต้องทำร่วมกับ CPN อย่างเดียวเท่านั้น)
4. อาหาร
5. อื่นๆ เช่น REITs, Venture Capital (ลงทุนใน startup), hospitality service (การทำ catering)
ให้ดูภาพรวมธุรกิจอีกมุมนึงครับ

===========
กลุยทธ์จะไปทางไหนครับ?

“เป้าหมายหลักๆ คือ ต้องการสร้างสมดุลให้กับรายได้ภายในและภายนอกประเทศ” “และสร้างสมดุลระหว่างการลงทุนเอง และไปบริหารจัดการให้กับโรงแรมอื่น”
นอกจากนี้ DTC จะหันไปกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจอื่นๆ และจะมุ่งขยายธุรกิจ โดยตั้งเป้าว่าอยากขยายจำนวนห้องที่ให้บริการลูกค้า
===========
แต่ DTC ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเฉยๆ แต่วางแผนล่วงหน้า 9 ปี!

ในช่วงปี 2016-2018: สร้างรากฐานให้แข็งแรง เพราะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ต้องมีปิดโรงแรมบ้าง และต้องใส่เม็ดเงินลงทุน
2019-2021: เริ่มเห็นผลจากการลงทุน
2022-2025: โครงการใหญ่ๆจะเสร็จ เช่น Mixed use
===========
โครงการใหม่ Asai เน้นจับกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ

ห้องไม่ได้ใหญ่มาก แต่พื้นที่ส่วนกลางทำเป็นเหมือน co working และ co living space และใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ เช่น แอพมือถือ เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่
โดยจะใช้พนักงานไม่เยอะ
===========
เริ่มขยายธุรกิจ Villa ระดับสูง

DTC เข้าซื้อกิจการ Elite havens เป็นบริษัทให้บริการ Villa ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย สำนักงานใหญ่อยู่ในสิงคโปร์ ตอนนี้ให้บริการ Villa ใน 5 ประเทศ เช่น มัลดีฟ ศรีลังกา เกาะสมุย บาหลี และญี่ปุ่น (ฮอกไกโด)
เป็นการให้บริการ Villa แบบส่วนตัว มีเชฟ มีคนทำความสะอาดส่วนตัว
===========
โครงการยักษ์ใหญ่ที่ DTC ทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาล

เป็นโครงการ Mixed-use ที่บริเวณหัวถนนสีลมครับ เช่น โรงแรม, ที่พัก, ค้าปลีก (เชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้า BTS) และออฟฟิศ สำนักงาน
โรงแรมดุสิตธานีแห่งใหม่ คาดจะเปิดให้บริการในปลายปี 2565 เป็นอันดับแรกก่อน และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพาร์ค จะเปิดบริการในไตรมาส 3 ปี 2566
ในส่วนที่พักอาศัย ทั้ง Dusit Residences และ Dusit Parkside จะสร้างเสร็จในปี 2567 ซึ่งจะเปิดให้จองได้ในครึ่งหลังปี 62 โดยจะให้กรรมสิทธิเช่า 60 ปี (สัญญาเป็น 30 ปี บวก 30 ปี และอาคารสำนักงานก็สร้างเสร็จในปี 2567 เช่นกัน)

ในช่วงที่รอโรงแรมปรับปรุงใหม่ ทางด้าน DTC จะโยกพนักงานไปทำธุรกิจอื่นๆ ในกลุ่ม hospitality เช่น จัด event, โยกแม่บ้านไปทำที่โรงแรมระดับ 5 ดาวอื่นๆ เช่น Grand Hyatt, Banyan Tree
นอกจากนี้ยังเตรียมขยายธุรกิจร้านอาหาร BAAN Dusit Thani พื้นที่เกือบ 5 ไร่ แถวๆศาลาแดง และยังมีบางส่วนช่วยบริหารแบรนด์คนอื่น
===========
อีกโครงการที่น่าสนใจคือ การขยายธุรกิจไปที่อาหาร

DTC ก่อตั้งบริษัท dusit Foods เพื่อทำธุรกิจอาหารในเครือให้มีคุณภาพมากขึ้น
“เห็นโอกาสจากการที่การเปิดโรงแรมในต่างประเทศแล้วยากที่จะหาวัตถุดิบ และการหาบุคคลากร เลยเป็นที่มาของบริษัทนี้ เพื่อผลิตวัตถุดิบ ซอส ให้กับโรงแรมในเครือ”
คุณศุภจี มองว่านี้เป็นอีกโอกาสของธุรกิจครับเพราะสามารถขายเครื่องปรุง ซอส วัตถุดิบ ให้กับร้านอาหารอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน เป็นแบบ B2B โดยใช้แบรนด์ดุสิต

นอกจากนี้ DTC ยังสนใจเทคโนโลยีด้านอาหารร่วมกับพันธมิตร เช่นผลิตโปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ แต่มาจากพืช เพราะมีหลายคนแพ้เนื้อสัตว์ แพ้อาหารทะเล
นอกจากนี้ยังเข้าไปลงทุนบริษัท Epicure เพื่อขยายธุรกิจ catering แต่จะแตกต่างจาก catering ในปัจจุบันของ DTC (ปกติเน้น event เป็นครั้งคราว) โดยอนาคตจะเน้นเจาะตลาดโรงเรียนนานาชาติ ซึ่ง Epicure ตอนนี้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุด
แต่ไม่ได้ทำธุรกิจที่ไทยเท่านั้น (30แห่ง) แต่ยังทำธุรกิจในเวียดนาม กัมพูชา อีกด้วย

โดยอนาคตจะเข้าไปบุกตลาดเวียดนามมากขึ้น ปัจจุบันมีกำไรกว่า 90 ล้านบาท และมีรายได้ 4 ร้อยล้านบาท
“เราจะไม่เน้นพวก Quick Service Restaurant เราจะไม่ซื้อแฟรนไชส์จากแบรนด์ดังต่างประเทศ” “เราจะเน้นซื้อธุรกิจที่มีอัตราทำกำไรสูง และคู่แข่งคนใหม่เข้ามาทำตลาดยาก”
โดยจะเน้นเอาแบรนด์เอเชีย ไปขยายตลาดโลก โดยไม่เอาแบรนด์นอกมาขยายธุรกิจในไทย และจะเน้นวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอาหาร
===========
ผลประกอบการของ DTC ยังทรงๆ แม้ว่าจะปิดปรับปรุงโรงแรม

รายได้ 5500 ล้านบาท
EBITDA 1000 ล้านบาท
ตอนนี้จำนวนห้อง 7 พันห้อง


===========
ปีนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รุ่นที่ 2
1. เป็นช่วงการรับรู้ศักยภาพของการเติบโตจากโครงการใหม่ เช่น การเปิดตัวโรงแรมใหม่อีกหลายแห่งในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 6 แห่งในเอเชีย แปซิฟิก ซึ่ง 2 แห่งเป็นตลาดที่ไม่เคยมีโรงแรมมาก่อน เช่น ภูฐานและเวียดนาม ภายใต้รูปแบบการรับจ้างบริหาร แฟรนไชส์ หรือเช่ามาบริหารเพื่อสร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุนเอง (นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดในฟิลิปปินส์ และจีน และภูเก็ต)
2. การเปิดสถาบันการศึกษาการโรงแรมแห่งใหม่ในฟิลิปปินส์ และการเสริมธุรกิจอาหารให้มีความชัดเจนและแข็งแกร่งขึ้น ชดเชยรายได้ที่หายไปจากการหยุดให้บริการของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ
===========
สำหรับในปี 2019

ตั้งใจอยากเปิดโรงแรม 11 แห่งใน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จีน การ์ตา บาร์เรน เคนยา
ในส่วนของ Villa จะเพิ่มในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ด้วย
โดยในปี 2023 คาดว่า DTC จะมีเครือข่ายครอบคลุมโรงแรมจาก 13 ประเทศ เป็นมากกว่า 20 ประเทศ และเพิ่มจำนวนห้องจาก 8 พันห้อง เป็นมากกว่า 2 หมื่นห้อง (หลักๆเป็นรูปแบบของการบริหารมากกว่าสร้างโรงแรม)
===========
DTC เตรียมขาย สินทรัพย์ในมัลดีฟเข้ากอง REITs มากขึ้น

คาดว่าเม็ดเงินจะไม่ต่ำกว่า 2,304 ล้านบาท ตอนนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติผู้ถือหุ้น โดยมองว่าสินทรัพย์ในมัลดีฟค่อนข้าง perform ดี
===========
เป้าหมายเป็นอย่างไร?
สำหรับปีนี้คาดว่ารายได้จะยังเติบโต 8-10% จากปีก่อนที่มี 5.5 พันล้านบาท

คาดว่าจะมีรายได้จากกลุ่มอาหาร 1 พันล้านบาทภายในปี 2021 ด้วยอัตราการเติบโต 20-25%

เม็ดเงินลงทุนในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 1140 ล้านบาท แบ่งเป็นการปรับปรุงโรงแรม 245 ล้านบาท, พัฒนาซอฟท์แวร์ 245 ล้านบาท, และลงทุน 650 ล้านบาทสำหรับโครงการอภิมหาโปรเจค Mixed – Use
เน้นขยายโรงแรม 11 แห่ง เพิ่มจำนวนห้องมากกว่า 2 พันห้อง
นอกจากนี้ยังเตรียมขยาย Residence กับ อนันดา หลังจากที่เข้ามาซื้อหุ้น 5%

ส่วนเป้าหมายระยะกลางระยะยาว เป็นดังนี้ครับ
2019-2021: เปิดโรงแรมใหม่ปีละ 10-12 แห่ง, ธุรกิจอาหารเติบโต 20-25%, EBITDA Margin 18-20%, เม็ดเงินลงทุน 1 พันล้านบาท ต่อปี
2022-2025: เปิดโรงแรมใหม่ปีละ 10 แห่ง, ธุรกิจอาหารเติบโต 15-20%, EBITDA Margin 20-25%, เม็ดเงินลงทุน 2500 ล้านบาท ต่อปี
===========
ปล. DTC เดินหน้าลงทุน 613 ล้านบาท ถือหุ้น 70% เอ็บเพอคิวร์ เคเทอริ่ง จำกัด (ECC) สัดส่วน 70% ทำธุรกิจเครื่องดื่มและอาหาร ที่เน้นบริการโรงเรียนนานาชาติ ในไทย เวียดนาม กัมพูชา
และอยู่ระหว่างการซื้อโครงการทำเลบ้านราชประสงค์ที่มีอายุเช่า 19 ปี (97 ห้อง ด้วยมูลค่า 740 ล้านบาท), และโครงการป้อมปราบศัตรูพ่าย (มูลค่า 1 พันล้านบาท เป็น leasehold 32 ปี จำนวนห้อง 224 ห้อง)
ปล. ก่อนหน้านี้ CPN ได้ขายหุ้น DTC 5% ในขณะเดียวกัน ANAN ก็เข้ามาซื้อ 5% ด้วยมูลค่า 510 ล้านบาท ในช่วงต้นเดือน กพ. 2019 ที่ผ่านมาครับ
===========
ไม่อยากพลาด! Add [email protected] ไว้นะครับ
คลิก https://line.me/ti/p/%40Tam-eig