“รู้ไหมครับว่า เดือนๆหนึ่งนักลงทุนไทย เสียเวลาจ้องหน้าจอคอม เฝ้าหุ้นไปเท่าไหร่?”
เป็นคำถามที่พี่รัน นิรันดร์ ประวิทย์ธนา หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแอป Yuanta Beyond ตั้งคำถามแทงใจดำกับพี่น้อง นักลงทุนในงานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า ที่ผมไปนั่งฟังเมื่อวันก่อน
ยังไม่ทันจะมีใครยกมือตอบ พี่รันก็รีบบอกทันทีเลยครับว่า 10 ล้านชั่วโมงต่อเดือน !!!
โอ้โห… งง กันไปตามๆกัน (ถ้าเป็นการ์ตูน คงมีก้อนความคิดโผล่ขึ้นในห้องมากมายว่า “10 ล้านชั่วโมงนี่ เอาไปทำอะไรได้อีกเยอะมากนะเนี่ย”)
และสิ่งที่น่าเจ็บใจมากที่สุดคืออะไร ทราบไหมครับ มีคนที่ทำกำไรจริงๆแค่ 10% เท่านั้น ที่เหลือส่วนใหญ่เจ๊งทั้งน้านนน (อุตส่าห์นั่งเฝ้าจอคอมแท้ๆเชียว เพื่อ …..??)
วันนี้ผมก็เลยจะมาเล่า 4 ฟังก์ชั่นชื่นชอบของผม ในแอป Yuanta Beyond หลังจากได้มีโอกาสไปฟังงานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า ว่าน่าจะช่วย เพิ่มผลตอบแทนลงทุนให้ดีขึ้นได้ยังไงบ้างครับ
=======================
ความรู้สึกนักลงทุนส่วนใหญ่ กับการลงมือลงทุนจริงมักจะสวนทางกัน
นี่คือข้อสรุปเบื้องต้นที่ผมเห็นจากการที่ พี่เจตอาทร และพี่ภูริภัทร นักวิเคราะห์มือเก๋าอารมณ์ดี อีกผู้อยู่เบื้องหลังของการปั้นแอปอัจฉริยะของหยวนต้าได้ทำการสำรวจ โดยให้นักลงทุนตอบคำถามภายในห้องสัมมนา (เรียกเสียงฮือฮาได้เป็นระยะๆเลยละครับ คุยกันสนุกมากกกกก)

ผมยกตัวอย่างบางคำถามเป็นน้ำจิ้มละกันครับ
1. “การลงทุนแบบ DCA เทียบกับ Buy and Hold แบบไหนให้ผลตอบแทนมากกว่า” คนส่วนใหญ่ตอบว่า Buy and Hold
2. และนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า การเลือกหุ้นให้ถูกตัว เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อผลตอบแทนที่จะได้รับ เมื่อถูกถามว่า “ท่านคิดว่า ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย มาจากปัจจัยข้อไหนมากที่สุด”
ก่อนที่จะไปดูคำตอบ คิดยังไงกันบ้างครับ?

“การลงทุน DCA ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยน้อยกว่า Buy and Hold แต่เราแนะนำให้ DCA”
เป็นคำแนะนำจากพี่เจตอาทรครับ พี่เจตอาทรโชว์ให้เห็นว่า สถิติไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน หรือพอร์ตแบบใด เช่น หุ้นอย่างเดียว, หุ้นผสมตราสารหนี้ หรือ ตราสารหนี้อย่างเดียว ล้วนแล้วแต่ได้ข้อสรุปเดียวกันว่า การซื้อหุ้นแล้วถือยาว (Buy and Hold) ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า การซื้อแบบ เฉลี่ยในแต่ละเดือน (DCA) การซื้อหุ้นแล้วถือยาว (Buy and Hold) ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า การซื้อแบบ เฉลี่ยในแต่ละเดือน (DCA)
ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
แต่เหตุผลที่พี่เจตอาทร แนะนำให้ลองดู กลยุทธ์การซื้อเฉลี่ย เพราะการคาดเดาตลาดทำได้ยากมาก ถึงมากที่สุด เราไม่มีทางรู้เลยว่า จุดที่เราซื้อ เป็นจุดที่อยู่ยอดดอย หรือไม่ ถ้าเราเลือกใช้กลยุทธ์ซื้อแล้วถือยาว แบบจัดหนักจัดเต็ม แต่จุดที่เลือกกลับเป็น ณ จุดยอดดอย คงไม่ต้องบอกว่า ต้องทนทุกข์ทรมาน อึดอัดใจไปอีกกี่ปีนะครับ
หัวใจสำคัญคือ “DCA ช่วยลดความเสียใจจากโอกาสขาดทุนได้” ครับ “และอย่าซื้อหุ้นตัวเดียว อย่าหลงรักหุ้นตัวเดียวเป็นอันขาด” เพราะแม้จะไม่ใช่วิธีที่จะช่วยให้เรารวยเร็วๆได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้เรา อยู่รอดได้ในระยะยาว
เพราะถ้าเราเลือกหุ้นที่ดี มีคุณภาพ เราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับจังหวะการลงทุนแล้ว ยิ่งตลาดมีจังหวะเหวี่ยงลงมาเราก็มีโอกาสได้ต้นทุนที่ต่ำลง ถ้าเรามีวินัยลงทุนซื้อเฉลี่ยไปเรื่อยๆ (สำหรับกองทุน ตามสถิติย้อนหลังแล้ว แบบ passive จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงกว่ากองทุนแบบ Active)
แต่จริงๆแล้ว กลยุทธ์ buy and hold ก็ดีนะครับ เหมาะสำหรับคนที่เชี่ยวชาญ เข้าใจกิจการนั้นๆแบบทะลุปรุโปร่ง และคัดเลือกหุ้นได้แม่น ในราคาที่เหมาะสม แต่คนส่วนใหญ่มักจะทำไม่ได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติ DCA จึงให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวในขณะที่ความเสี่ยงไม่มากเกินไป
ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
1. ทำไม ผมถึงชอบฟังก์ชั่น Portfolio Solutions?
เพราะแอปให้น้ำหนักในหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตไม่เท่ากัน ข้อดีคือ ต่อให้ในพอร์ตมีหุ้นที่ติดลบบ้าง ก็จะไม่ลบหนักเพราะจะมีตัวอื่นคอยพยุงพอร์ตเอาไว้ (ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ตอบคำถามตอนเริ่ม ว่าการเลือกหุ้นให้ถูกตัว เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อผลตอบแทนที่จะได้รับ พี่เจตอาทร ย้ำว่า ตามสถิติแล้วการแบ่งพอร์ตให้เหมาะสม Asset Allocation ให้ดี จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว) และในแต่ละ Port ของ Portfolio Solutions จะสามารถดูข้อมูลพื้นฐานได้ เป็นแอปที่ครบเครื่องมากครับ
นอกจากนี้ ยังมีการนำ AI มาช่วยวิเคราะห์สถิติย้อนหลัง ช่วยกรองความเห็นของนักวิเคราะห์อีกที ทำให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากขึ้น
ซึ่งนอกจาก DCA แล้ว ยังมี Portfolio แบบอื่นอีก ที่เป็นตัวช่วยตอบโจทย์ให้กับนักลงทุนทุกรูปแบบ!
Portfolio Solutions จะมีให้เลือก 7 แบบด้วยกันครับ เช่น
• DCA Port: เหมาะสำหรับการออมหุ้นทุกเดือนครับ โดยทั่วไปจะมีการ update ให้คำแนะนำทุก 1 เดือน ยกเว้นมีเหตุการณ์สำคัญกระทบต่อพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ จะมีการปรับเปลี่ยนคำแนะนำ โดยถอดหุ้นนั้นออกจาก DCA Port ได้ทันที
• Dividend Port: เน้นหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง ปัจจัยพื้นฐานดี โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย จากปี 2012-2018 ที่ 101% มากกว่าตลาดที่เพิ่มขึ้น ปรับพอร์ตทุกๆเดือน (กลางเดือน วันที่ 15)
• Growth Port: เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ้นเติบโต ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6 ปีล่าสุด 136% มากกว่าตลาด เกือบ 3 เท่า (ปีนี้พอร์ต Growth ระยะสั้นอาจจะไม่ค่อยดี แต่ระยะยาวมีโอกาสสร้างการเติบโตได้ ในขณะที่ระหว่างทางจะมีความผันผวนมากกว่าพอร์ตปันผล) และมีการปรับพอร์ตทุกๆเดือน
พอร์ต อื่นๆ
• Quant Port จะเน้นใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ วิเคราะห์เลือกหุ้นจากสถิติ ปรับพอร์ตทุก 1 เดือน,
• Stock signal จะเหมาะสำหรับการถือหุ้นระยะสั้น และสามารถถือเงินสดได้โดยใช้ AI ในการเลือกหุ้น,
• Trading Port เน้นลงทุนระยะสั้นปรับพอร์ต ทุก 2 สัปดาห์
• Intraday Signal เน้นแนะนำหุ้นรายวัน
พอร์ตมีให้เลือกตั้ง 7 แบบทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่า เราจะให้แบ่งพอร์ตตามความเสี่ยงของตัวเองยังไงครับ


ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
2. อีกฟังก์ชั่นที่ผมชอบ เพราะน่าจะช่วยไม่ให้ผมจมอยู่ในกองข่าว ก็คือ Sensify
“หุ้นตัวนี้มีข่าวอะไรบ้าง ทำไมหุ้นขึ้นแรง” “ทำไมหุ้นมีข่าวดี แต่หุ้นลง” “ทำไมหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เชียร์ขายทีไรหุ้นขึ้นทุกที”
เออ… น่าคิดนะ ว่าทำไม ข่าวที่ดูเหมือนจะดี แต่มันกลับไม่ดี แล้วข่าวที่มันควรจะดี หุ้นกลับไม่ไป
ตรงนี้แหละครับที่ AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาช่วย เพราะ AI จะวิเคราะห์เลยว่า ตามสถิติย้อนหลัง keyword เหล่านี้จากข่าวทุกแหล่ง (ทั้งหนังสือพิมพ์, พันทิพ, บทวิเคราะห์, เวปไซต์) มีผลทำให้หุ้นขึ้น หุ้นลงแค่ไหน และเป็นการวิเคราะห์แบบ Real time และเก็บข้อมูลให้เรา ฉลาดมากครับ (ดูย้อนหลังได้กว่า 90 วัน)
ข้อดีของระบบ AI คือนอกจากจะวิเคราะห์ข่าวแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยเทคนิค ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ตลอดเวลา ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและลดความผิดพลาดจากอารมณ์ของนักลงทุนลดอคติได้ (ส่วนใหญ่คนตกม้าตายตรงนี้แหละครับ หวั่นไหวกับภาวะตลาด ทำให้ขาดวินัยการลงทุน)
Sensify ได้เอาทุกข่าวมารวมกัน เพื่อบอกว่า ตอนนี้คนในตลาดอยู่ในอารมณ์แบบไหน เช่นกลัวสุดๆ หรือโลภสุดๆ อันนี้ช่วยทำให้เราตัดสินใจว่าจะทำอะไร หรือไม่ทำอะไรในวันนั้นได้ จะบอกได้ว่าตอนนี้ sentiment เป็นอย่างไรถ้าเทียบกับตลาด SET แบบล่วงหน้า ได้สูงสุด 3 วัน เป็นอีกจุดที่ผมอยากให้มีคนทำฟังก์ชันนี้ออกมานานแล้วครับ
ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
นอกจากนี้ Sensify ยังสามารถเช็คกระแสข่าวหุ้นที่ฮอตที่สุดได้ เช่น หุ้น PTT ในช่วง 7 วันย้อนหลังเป็นหุ้นที่มีคนพูดถึง มากที่สุดในตลาด โดยจะเห็นว่ามี 74 voices คือ มีคนพูดถึง 74 ข่าว
และบอกได้อีกว่าในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีคนพูดถึง PTT กี่คน (ในที่นี้คือ 0 เพราะผมเริ่มเขียนบทความนี้ในวันอาทิตย์ ซึ่งปกติไม่ค่อยมีข่าวเท่าไหร่) หรือถ้าอยากเจาะจงไปว่า หุ้นตัวนั้น ตัวนี้ มีเรตติ้งเป็นไง ก็กดไปที่ ปุ่ม Search เอา
แถมยังวิเคราะห์ได้อีกว่า sentiment score ตอนนี้เป็นอย่างไร (ถ้ามากกว่า 50% คือ ส่วนใหญ่เป็นข่าวดี )
และยังมี Rating ให้เราดูด้วยนะครับ ผ่านทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (ให้น้ำหนัก 40%), เทคนิค (ให้น้ำหนัก 30%) และ Quant (ให้น้ำหนัก 30%) เพื่อตัดสินว่าหุ้นตัวนี้ได้รับการจัดอันดับเท่าไหร่
ถ้าผลการจัดอันดับอยู่ประมาณ 8,9,10 อันนี้ดี มีโอกาสที่หุ้นจะขึ้น
แต่ถ้าตอนนี้ Rating ได้คะแนนเพียง 1,2,3 แสดงว่า หุ้นมีแนวโน้มไม่ค่อยดี ควรหลีกเลี่ยงลงทุน
ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
3. แล้วถ้าตอนไหนอยากเลือกหุ้นเอง ผมแนะนำฟังก์ชั่น Scanner ครับ
3.1 ถ้าอยากเลือกหุ้นเอง แล้วเลือกจากสูตรสำเร็จ: แอปนี้มีให้เลือกเยอะเลย มี 11 สูตร เช่น หุ้นปันผล, เส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน, อัตราส่วนทางการเงินเกี่ยวกับสินทรัพย์ (ROA, Asset Growth เป็นต้น), MACD, วิเคราะห์ปริมาณการซื้อขาย, วิเคราะห์การเปลี่ยนมือของนักลงทุน หรือ Turnover เป็นต้น
ผมว่าคำสั่งที่น่าสนใจคือ ฟังก์ชันหาหุ้นปันผล สามารถดูได้ว่า หุ้นตัวไหนที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ 3 ปี, 5 ปี (เผื่อเจอหุ้นตัวที่จ่ายเงินปันผลพิเศษ) กดไปแปบเดียวก็ขึ้นมาแล้วครับ
ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
จากปกติต้องนั่งไล่ดูงบทีละตัว ตอนนี้ไม่ต้องแล้วกด ไม่กี่วินาทีก็ได้รายชื่อหุ้นให้เราไปทำการบ้านต่อละครับ
ส่วนท่านไหนที่ไม่ชอบไล่ราคาหุ้นเหมือนผม ชอบเล่นหุ้นตอนที่ลงมาต่ำๆ และมีโอกาสกลับตัว (ต้องเน้นว่า มีโอกาส) ยังมีอีก 1 ฟังก์ชันที่น่าสนใจ ฟังก์ชัน Momentum Detection ผมลองเลือกตัว Weekly bullish divergence นะครับ (ราคาหุ้นรายสัปดาห์ลดลง แต่ RSI เริ่มเด้งขึ้น)
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการหาหุ้นเล่น ในจังหวะกลับตัว แต่ผมแนะนำให้ดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วยก่อนซื้อ-ขายทุกครั้ง เพราะหุ้นที่ถูกเท มันอาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามากระทบอีก (หลายกรณีอาจจะถูกเทอีกรอบ ก็เป็นได้ครับ)
ส่วนฟังก์ชันที่พี่รัน ชื่นชอบมากและภูมิใจนำเสนอ คือ Valuation ที่เป็นรูปสัญลักษณ์เพชรนั่นแหละครับ (ความหมายคือ หาเพชร ในตมหรือป่าวครับ พี่รัน) พี่รันยกตัวอย่าง P/E Divergence คือการมองหา หุ้นที่มีค่า P/E ที่ลดลงสวนทางกับราคาหุ้นที่พุ่งขึ้น มองอีกมุมหนึ่งคือ หุ้นตัวนี้มีกำไรโตเร็วกว่า การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นนั่นเองครับ แต่ธีมนี้แนะนำว่า ต้องทำการบ้านหนักกว่าตัวอื่นๆนะครับ เพราะร้อยวันพันปี ถึงจะเจอตัวที่ใช่


ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
3.2 ถ้ามีเกณฑ์ในการเลือกหุ้นในใจอยู่แล้ว เหมาะสำหรับคนที่มีท่าไม้ตาย ก็เลือกเองได้เลย
เช่นดู ค่าเฉลี่ย, MACD, price pattern, ปัจจัยพื้นฐาน การเติบโตรายได้ กำไร และอัตราทำกำไร เราก็สามารถเลือก My Scanner ออกแบบได้ตามที่เราต้องการครับ
ถ้าเจอตัวที่ชอบแล้วอยากติดตาม ก็กดหัวใจไว้ได้เลยครับ
เป็นฟังก์ชันพิเศษที่ผมว่า ตอบโจทย์คนอย่างผมมากเลยครับ เพราะบางทีผมชอบนั่งไล่ดูหุ้นหลายตัว หลายธีม ชอบหลายแบบ แต่พอเวลาผ่านไป ผมก็อาจจะลืมหุ้นบางตัวไปบ้าง หันไปดูอีกที อ้าว….. วิ่งไปซะแล้ววววว
“แนะนำให้คลิกไปที่หุ้นตัวนั้น แล้วตรงช่อง info จะมีหัวใจ เราก็แค่กดหัวใจไว้” พี่รันบอก
ตอนที่เราซื้อ
พูดง่ายๆคือ เหมือนเรามีหุ่นยนต์เฝ้าหุ้นทั้งตลาดให้พวกเรา เลือกได้หมดนะครับ จะให้สแกนทั้งตลาด แล้วเตือนเรา เช่นถ้าเราอยากเล่นหุ้น MACD ตัดขึ้นรายเดือน ถ้ามี ระบบก็จะเตือนเราได้ ในขณะที่เราเองก็เอาเวลาไปทำอย่างอื่น หรือถ้าอยากซื้อหุ้นตอนที่โดนเท แล้วกำลังจะเด้งก็ใช้ฟังก์ชัน divergence ให้หุ่นยนต์ไปหาหุ้นมาให้เราได้
หรือถ้าจะสแกนตัวที่อยุ่ใน favourite ที่เป็นหุ้นในดวงใจของเราก็ได้เช่นกัน (ทำให้เราไม่พลาดหุ้น watch list หุ้นในดวงใจ ถ้าหากเข้าเกณฑ์ตามที่เราชอบครับ)
หรือถ้าสมมติว่า เรารู้แล้วว่าหุ้นที่เราชอบมากๆ คือตัวไหน แต่อยากรอดูอีกสักพัก เพื่อให้แน่ใจก่อนเข้าซื้อหุ้น เราก็เลือกหุ้นตัวนั้น และกดที่ Info และกดที่มุมขวาบนรูปเหมือนลำโพง
เพื่อให้ Robot เตือนได้ทั้งราคา, ปริมาณการซื้อขาย, ข่าวสาร และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆได้อีกมา


ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
ตอนที่เราอยากขาย
คงต้องขึ้นอยู่กับว่าเราซื้อหุ้นนั้นๆมาเพราะอะไรด้วยนะครับ เช่นถ้าเราซื้อเพราะปัจจัยพื้นฐานดี เราก็สั่งให้หุ่นยนต์คอยเตือนเราว่า ถ้าปัจจัยพื้นฐานแย่ลง เช่น EPS ตกลง 3 ไตรมาสติด หุ่นยนต์ก็จะเตือนเรา
หรือพอร์ตเราถ้า มีตัวไหนหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน หุ่นยนต์ก็เตือนภาวะขาลงได้เช่นกันครับ เราก็สามารถวางแผนว่าจะโยนหมดพอร์ต หรือ ขายครึ่งพอร์ตก็ได้ แล้วแต่กลยุทธ์
ความเจ๋งคือ เราสามารถแยกการแจ้งเตือนแยกพอร์ตกันได้เลยครับ (เลือกให้หุ่นยนต์เตือนหุ้นทั้งตลาดก็ได้ ตั้งเฉพาะ favorite ก็ได้ หรือจะตั้งแค่หุ้นบางตัวก็ได้)
และที่สำคัญเราสั่งส่งคำสั่งซื้อ หรือ ขายได้ทันใจ เพราะแอปเชื่อมกับ Streaming ไว้เรียบร้อยแล้ว ตรงปุ่มด้านข้าง Trade สะดวกสบายสุดๆ ไม่พลาดทุกจังหวะลงทุนครับ 🙂


ที่มา: งานสัมมนา “เคล็ด (ไม่) ลับ สร้างเงินล้าน” ของ บล.หยวนต้า
สรุปจาก ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน
ส่วนตัวมองว่าเป็นแอปที่มีประโยชน์ทั้งด้าน “แฟชั่น” และ ”ฟังก์ชัน” ครับ
แฟชั่น คือ เป็นแอปที่ทันสมัยมากๆ ช่วยลดเวลาการลงทุน ทำให้พวกเราคนเล่นใช้งานง่ายมากๆ ใช้งานเป็นอย่างรวดเร็วไม่จำเป็นต้องใช้คู่มือก็เล่นได้
ฟังก์ชัน คือ Yuanta Beyond สมชื่อครับเป็นมากกว่าแค่แอปพลิเคชั่น ฉลาดมากๆครับ ทั้งปัจจัยพื้นฐาน เทคนิค AI และข่าวสาร
แอปนี้เค้าจัดข้อมูลให้เราหมดแล้ว เค้าทำการบ้านให้เราหมดแล้ว (ย้ำว่า ขอให้เอาผลลัพธ์ที่ได้ไปทำการบ้านต่อทุกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนนะครับ)
เหลืออย่างเดียวครับ เหลือหน้าที่ของเราเองครับ ผมมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องมี mindset การลงทุนที่ถูกต้อง, ต้องหมั่นตรวจสอบข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ หรือขาย, ต้องรู้ว่าเรามีสไตล์การลงทุนแบบไหน รับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด, ควบคุมภาวะทางอารมณ์
เพราะแม้ว่าเรามีแอปอัจฉริยะ ที่จะเป็นตัวช่วยนักลงทุนได้แบบ 24 ชม.แล้ว แต่ถ้าเราไม่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง ก็เปรียบเสมือนเรามีทหารอยู่เต็มกองทัพ แต่ขาดแม่ทัพที่เก่งกาจ
แล้วเราจะชนะศึกการลงทุนได้อย่างไรครับ จริงไหมครับ??
=======================
หมายเหตุ:
หุ้นที่นำเสนอในบทความเป็นเพียงการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจการทำงานของแอปง่ายขึ้น ไม่ได้มีเจตนาในการชี้นำในการซื้อ หรือ ขายหุ้นแต่อย่างใด
ไม่อยากพลาด! Add line@ ไว้นะครับ คลิก https://line.me/ti/p/%40Eig_Banphot
