[ตอนจบ] สรุปปู่บัฟเฟตต์ประชุมผู้ถือหุ้นที่นักลงทุนรายย่อยไทยพลาดไม่ได้ ตอนที่ 4
โดยเพจ ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน
สรุปให้อ่านกันยาวๆเพลินๆกันไปครับ วันหยุดอ่านชิลๆเติมความรู้ เติมแรงบันดาลใจกันครับ
============
34. ข่าวใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือ การที่ Berkshire ประกาศว่าจะใส่เงินให้กับ Occidental เพื่อเข้าซื้อกิจการ Anadarko Petrolium Corp.
ปู่บอกว่า “นี่ไม่ใช่ดีลสุดท้ายแน่นอน และคาดหวังว่าดีลครั้งต่อไปจะมีขนาดมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 3 แสนล้านบาท”
“Berkshire มีปัญหาในการนำเงินสดในมือไปลงทุนต่อ แต่แน่นอนว่าถ้าโอกาสที่ใช่ มาเมื่อไหร่ Berkshire ก็พร้อมที่จะลุยลงทุนอยู่แล้ว”
และยืนยันว่า ถ้าใครก็ตามที่ต้องการเงิน (และเป็นธุรกิจที่ดี) เค้าสามารถโทรมาหาปู่บัฟเฟตต์ได้ในวันศุกร์บ่ายๆ แล้วนัดเจอกันวันเสาร์ แล้ววันอาทิตย์ก็สามารถปิดดีลได้เลย
============
35. การที่ Apple หันมาทำธุรกิจบัตรเครดิต ปู่มองว่าจะกระทบกับธุรกิจของ Amex ผู้นำธุรกิจเครดิตที่ปู่ถือหุ้นอยู่หรือไม่คะ?
ปู่บัฟเฟตต์อธิบายว่า ยังไงๆก็มีการแข่งขันมากมายอยู่แล้ว และก็มีคู่แข่งในธุรกิจเสมอๆ “ผมไม่คิดว่าธุรกิจบัตรเครดิตสามารถเติบโตได้แค่โมเดลเดียว”
อย่างที่เราทราบกันดีว่า Amex ขยายธุรกิจไปทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีการแข่งขันมากมายเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่ความเจ๋งคือยังสามารถบริหารจัดการ ให้เป็นบัตรที่ยังรักษาลูกค้าเดิมได้มากที่สุด
และแม้ว่าจะขึ้นค่าธรรมเนียม แต่ก็ยังรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ แถมยังสามารถเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ เพราะอย่าลืมว่าภาพลักษณ์ของ Amex คือเน้นกลุ่มลูกค้าตลาดบน ซึ่งยังเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
“ตอนช่วงปี 1950 Amex เคยโด่งดังในด้านเชคสำหรับนักท่องเที่ยวซึ่งทำรายได้ได้อย่างมหาศาลอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือเค้าต่อยอดธุรกิจไปเจาะลูกค้าตลาดบนในตลาดบัตรเครดิต ซึ่งสร้างรายได้ได้มากมาย เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งมากๆครับ” “ผมดีใจที่ผมเป็นเจ้าของในสัดส่วน 18% ของหุ้น Amex”
สำหรับปู่มังเกอร์ ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม ดูเหมือนแกจะนั่งเหม่อด้วย จนปู่บัฟเฟตต์ต้องหันไปเรียกชื่อ 2 ครั้ง (สงสัยปู่บัฟเฟตต์จะตอบยาวเกินไป 55)
============
36. ไม่มีสูตรสำเร็จในการคำนวณความเสี่ยง
ปู่บัฟเฟตต์บอกว่า เราไม่มีสูตรสำเร็จในการคำนวณเรื่องความเสี่ยงหลอกครับ แต่สิ่งที่เราทำคือ การประเมินทั้งความเสี่ยงและโอกาสที่จะทำกำไรในทุกๆดีลก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้นทุกครั้ง
“บางครั้งเราก็ผิดพลาดบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ในอนาคตเราก็คงจะทำผิดพลาด เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่การทำธุรกิจจะถูกต้องเสมอๆ”
“แต่เราก็ไม่คิดว่าผลลัพธ์จะเปลี่ยนถ้าหากมีคณะกรรมการมาช่วยคิดหลายๆคน หรือการที่ใช้ spreadsheet ของ excel มาช่วยคำนวณมากๆ”
ปู่ย้ำว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วคำนวณความเสี่ยงออกมา ว่าเราสามารถยอมรับได้หรือไม่
============
37. ตลอด 60 ปีที่ผ่านมาที่คุณปู่บัฟเฟตต์และปู่มังเกอร์ทำงานร่วมกันมาเคยมีความขัดแย้งกันบ้างไหม
“ไม่เคยมีความขัดแย้งกันเลย เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก” ปู่บัฟเฟตต์บอกครับ ซึ่งปู่มังเกอร์เองก็เห็นด้วยและบอกว่าเราเข้ากันได้ดีมาก
ปู่บัฟเฟตต์เสริมว่า มีบ้างนะครับที่เราจะไม่เห็นด้วยในสิ่งที่อีกคนคิด แต่เราไม่เคยโกรธกัน ไม่เคยใช้อารมณ์ในการคุยกัน
“ผมยอมรับว่ามังเกอร์ฉลาดมากๆ แต่ก็มีหลายอย่างที่ผมใช้เวลาในการศึกษามากกว่าเช่นกัน และบางครั้งเราทั้งคู่ก็คิดว่าเราเป็นฝ่ายถูก แต่เราก็ไม่เคยทะเลาะกัน”
ปู่บัฟเฟตต์บอกว่า โชคดีมากที่รู้จักมังเกอร์ตอนอายุ 28 ปี และเราแบ่งหน้าที่ได้ดี “การมีคู่คิดธุรกิจดีที่ สำคัญไม่แพ้กับการที่มีคู่ครองที่ดี เพราะจะทำให้เรามีความสนุกในการทำงานและประสบความสำเร็จมากกว่าที่ทำคนเดียว”
“การสะสมเงินทองเป็นสิ่งที่ทุกคนทำ แต่การสะสมเพื่อนที่ดีก็เป็นสิ่งที่ควรทำไม่แพ้กัน”
============
38. เมื่อปู่ชาร์ลี มังเกอร์พูดถึงหลักปรัชญาของการลงทุนส่วนตัว
“ผมไม่ได้ลงทุนในดัชนีใดๆเลยครับ” “ผมตั้งใจเสมอที่จะถือหุ้นแค่ 2-3 ตัวก็พอละครับ” ปู่มังเกอร์บอกว่าไม่จำเป็นต้องถือหุ้น 50 ตัวในพอร์ตเลย ถ้าคุณรู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่
ปู่มังเกอร์เล่นมุขว่า “ผมหวังว่า ทายาทของผมจะแค่นั่งอยู่เฉยๆก็พอละ”
แต่ปู่บัฟเฟต์มานิ่งๆ แต่ฮา คือ “ส่วนทายาทของผมนะเหรอ เค้าหวังให้ผมเปลี่ยนพินัยกรรมมากกว่า” เท่านั้นแหละครับฮาทั้งห้อง เพราะอย่างที่เรารู้กันดีว่าปู่บัฟเฟตต์จะบริจาคเงินส่วนใหญ่ที่เค้าหามาทั้งชีวิตให้กับมูลนิธิ Bill Gates
============
39. ยังมีอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้
“ผมมีความรู้ในหลายธุรกิจ แต่ก็มีอีกเยอะมากที่ผมยังไม่รู้ครับ”
นี่คือคำพูดของสุดยอดนักลงทุนระดับโลกอย่างปู่บัฟเฟตต์นะครับ “การที่เรารู้ว่า เรายังไม่รู้อะไรอีกมากมาย ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆนะครับ”
ปู่อธิบายเสริมว่า อย่าลืมว่าโลกของเรายังไงก็ต้องเปลี่ยน และโลกก็จะเปลี่ยนในทุกๆวัน
นั่นคือสิ่งที่ทำให้โลกของเรามีความน่าสนใจ เพราะนั่นหมายความว่าสิ่งที่เราเคยรู้ มันอาจจะไม่เพียงพอต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกใบเดิมอีกต่อไป
============
40. ชีวิตนี้ต้องมีข้อผิดพลาดบ้างแหละน่า
ปู่บัฟเฟตต์ให้ความเห็นว่า ปกติเราจะมีไอเดียในการทำธุรกิจ 10-12 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างแต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อย work หรอกครับแม้ว่าจะเปลี่ยนทีมผู้บริหารแล้วก็ตาม
ปู่มังเกอร์เสริมครับ “เราเคยล้มเหลวที่จะเปลี่ยนบริษัทขนมหวาน See’s Candies ให้กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Mars หรือ Hershey’s” ปู่เล่นมุขต่อว่ามันก็เหมือนกับความล้มเหลวในการได้รางวัลโนเบล หรือการเป็นอมตะ มันยากเกินไป (คนฮาทั้งห้องเลยครับ)
ปู่บัฟเฟตต์เสริมว่า “แต่อย่าลืมว่า ตอนนั้นเราซื้อกิจการมูลค่า 25 ล้านเหรียญในปี 1972 ซึ่งถ้าเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับเป็นหลัก 2 พันล้านเหรียญ ก็ถือว่าดีมากๆแล้ว”
============
41. ชื่นชม Tod และ Ted ผู้จัดการกองทุนคนเก่งอย่างมาก
มีคนถามว่าทำไมหลังๆผลตอบแทนของพอร์ต Berkshire เริ่มต่ำกว่าดัชนี ปู่บัฟเฟตต์เจ๋งมากครับ รีบช่วยลูกน้องตอบแทน โดยบอกว่า “มีคนนึงที่ทำผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนี แต่อีกคนต่ำกว่าเล็กน้อย“
จริงๆแล้วทั้ง Tod และ Ted เก่งมากๆ เป็นคนหนุ่มไฟแรง และทำได้ดีกว่าตัวปู่เองด้วยซ้ำไป ทั้งคู่บริหารพอร์ตมูลค่าสูงกว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญ หรือกว่า 4 แสนล้านบาท
“ผมชื่นชมในตัวทั้งสองท่านอย่างมากครับ Todd เองก็ดูแลโปรเจคที่ทำร่วมกับ JPMorgan และ Amazon เพื่อลดค่ารักษาพยาบาลของทั้งสามบริษัท” ส่วน Ted ก็บริหารการลงทุนในส่วนอื่นๆที่สำคัญมากๆเช่นกัน
“ทั้งสองท่านช่วย Berkshire ได้เยอะมากจริงๆ ทำให้เรามีโอกาสลงทุนเพิ่มขึ้นได้อีกเยอะ และยังช่วยคัดกรองบริษัทดีๆ และเค้าจะเลือกลงทุนเฉพาะธุรกิจที่พวกเค้าเข้าจเท่านั้นครับ”
“อีกอย่างที่ผมชอบ คือ เค้าเป็นคนดี และมุ่งมั่นลงทุนในแนวทางนักลงทุนหุ้นคุณค่าอย่างไม่ย้อท้อ” “ผมไม่เคยสงสัยในความสามารถของทั้งคู่ และมังเกอร์เองก็ไม่เคยสงสัยในความสามารถของผมครับ”
(โห ลูกน้องได้ยินน่าจะดีใจที่มีเจ้านายแบบนี้)
============
นอกจากจะได้ความรู้ธุรกิจ และการลงทุนแล้ว เรายังได้ปรัชญาในการใช้ชีวิตและการบริหารความรู้สึกของลูกทีมของเราด้วยนะครับ ชอบข้อไหนยังไง เข้ามาคอมเม๊นท์กันได้นะค้าบบบบ
============
ใครอยากอ่านตอนที่ 1, 2 และ คลิกที่รูปด้านล่างเลยครับ



============
ไม่อยากพลาด! อย่าลืมกดติดตามนะครับ
[email protected]: http://bit.ly/TAM-EIG_LINE
Twitter: http://bit.ly/TAM-EIG_Twitter
Youtube: http://bit.ly/TAM-EIG_Youtube
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนและภาพจาก yahoo finance