#谈亿 #ถันอี้ #ถามอีกกับอิกเรื่องลงทุนจีน
ช่วงเช้าที่ผ่านมาผู้ประท้วงฮ่องกงเริ่มยกระดับการชุมนุมครับ เริ่มมีการปิดล้อม รถไฟใต้ดิน และมีบางส่วนไปที่สนามบิน ทำให้ทางกระทรวงการต่างประเทศประกาศเตือนคนไทยที่จะเที่ยวที่นั่น
“แต่พี่มาเที่ยวก็ยังไม่เห็นว่าแรงขนาดนั้น” พี่จ๊าก โกสินทร์ เจือศิริภักดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนต่างประเทศจาก บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ประเทศไทย
“ส่วนคนฮ่องกงที่เป็นเพื่อนส่วนใหญ่ก็บอกว่า ให้เลี่ยงจุดที่ชุมนุมก็พอละ ส่วนโรงแรมที่อยู่ในย่าน Central ก็แนะนำให้อย่ากลับดึก” แหม…ช่างไปเที่ยวฮ่องกงได้จังหวะพอดีเลยนะค้าบพี่จ๊าก
========
แต่ข่าวจากสื่อที่เราเห็นก็เริ่มที่จะเห็นความรุนแรงมากขึ้น….
1. การชุมนุมทางการเมืองของฮ่องกงที่เราเห็นตามสื่อช่องทางต่างๆ ยืดเยื้อมานานกว่า 2 เดือนนี้ เป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 22 ปี บางช่วงมีผู้ชุมนุมมากกว่า 1 ล้านคน
ดูแล้วที่หลายคนมองว่าการเมืองไทยร้อนแล้ว แต่ที่ฮ่องกงเดือดกว่าหลายเท่าครับ
2. จุดเริ่มต้นของการประท้วงรอบนี้เกิดจากการที่รัฐบาลฮ่องกงประกาศที่จะลงมติกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนนับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาครับ
3. โจชัว หว่อง นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ประกาศให้คนฮ่องกงรวมพลังขับไล่ แคร์รี แลม ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง
4. รัฐบาลฮ่องกงเองก็ดูเหมือนจะถอยให้ 1 ก้าวพักการเสนอร่างกฏหมายนี้เพื่อลดแรงกดดัน เลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด
“ดิฉันขอโทษ ดิฉันก็เป็นชาวฮ่องกง รักบ้านเกิดเหมือนพวกท่าน” แคร์ลี แรม ผู้นำฮ่องกง แถลงพร้อมน้ำตา
5. ในขณะที่รัฐบาลก็ยืนยันว่า ได้ยุติพับกฏหมายฉบับนี้ไปแล้ว แต่ตอนนี้ก็มีการชุมนุมอยู่และดูจะเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น
คำถามคือ อะไรคือสิ่งทำให้การชุมนุมยังยืดเยื้อ ผลกระทบคืออะไร และทำไมคนไทยต้องใส่ใจเรื่องนี้?
========
เหตุผลที่การชุมนุมยังยืดเยื้อ?
“เป็นเพราะว่ารัฐบาลฮ่องกง แค่สั่งหยุดพักการพิจารณา กฏหมายฉบับนี้ แต่ยังไม่ได้ยกเลิก เค้าสามารถนำกลับขึ้นมาพิจารณาอีกทีเมื่อไหร่ก็ได้” อ.สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเมืองอธิบายให้ผมฟังอย่างออกรสออกชาติครับ
แต่อาจารย์คิดว่าเป็นเรื่องสิวๆ ที่ผ่านมาแล้วเดี๋ยวก็ผ่านไปครับ
“ร่างกฏหมายนี้เกิดจาก การที่ชายฮ่องกง ถูกกล่าวหาว่าสังหารแฟนในช่วงที่เค้าเดินทางไปเที่ยวไต้หวันในปีที่แล้ว” โดยฮ่องกงเองก็ไม่ได้ส่งตัวชายคนนี้ให้ไต้หวัน เพราะไม่มีข้อตกลงส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับไต้หวัน
นี่แหละครับเลยเป็นที่มาขอการเสนอให้ผ่านร่างกฏหมายฉบับนี้ แต่ชาวฮ่องกงไม่ได้คิดแบบนั้น
========
กฏหมายนี้มีเนื้อหายังไง?
กฎหมายนี้จะเปิดโอกาสให้รัฐบาลจีน ไต้หวัน และมาเก๊า ร้องขอการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กรณีมีผู้ต้องสงสัยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา
“ศาลฮ่องกงจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะส่งตัวผู้ต้องสงสัยให้รัฐบาลจีนหรือไม่” “คนฮ่องกงกลัวว่าจีน จะใช้กฏหมายนี้ในการเล่นงานคนที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง” (เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต)
และการที่หยุดพักการพิจารณาไม่ได้แปลว่าฮ่องกงจะยกเลิกกฏหมายนี้ไปเลยอาจจะรอให้กระแสซาลง แล้วค่อยชงเรื่องใหม่ก็เป็นได้
นี่เลยเป็นเหตุผลให้การชุมนุมรอบนี้ยังยืดเยื้อจนถึงตอนนี้ครับ
========
ความอัดอั้นใจฝังรากลึกมานาน
อ. สมชายเล่าให้ผมฟังว่า ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในช่วง 1841 ครับก่อนที่จะส่งมอบคืนสู่อ้อมอกของจีน ในปี 1997
“จีนยอมให้ฮ่องกงมีรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเอง มีสิทธิเสรีภาพ มีนิติบัญญัติของตัวเอง สามารถบริหารเศรษฐกิจของตัวเอง” โดยกฏเกณฑ์นี้จะใช้ได้ 50 ปี (ปี 2047)
อาจารย์อธิบายว่า ถ้าจีนไม่ให้สิทธิประโยชน์กับฮ่องกงแบบนี้ อาจจะเกิดความวุ่นวายแน่ๆ เพราะฮ่องกง กับจีนต่างกันเกินไป
“แต่การที่พยายามผลักดันให้สำเร็จรอบนี้ อาจจะเป็นเพราะกลัวช่วงที่กำลังเปลี่ยนผ่านในปี 2047 เลยต้องค่อยๆสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับคนในฮ่องกง”
ญาติๆของผมที่อยู่ฮ่องกงเองก็เล่าให้ฟังว่า “คนฮ่องกงมีอิสระเสรีภาพในการใช้ชีวิตมาก ตอนนี้หลายคนเริ่มกังวลว่าถ้ากลับคืนสู่อ้อมอกจีนอย่างเต็มรูปแบบ ตัวเค้าจะใช้ชีวิตยังไงครับ”
แต่ถ้าถามตอนนี้ เค้าก็ยังใช้ชีวิตปกติสุขดี ไม่ได้รู้สึกว่าปัญหาการเมืองวุ่นวายเหมือนที่คนภายนอกอย่างพวกเรามองครับ
========
สหรัฐอยู่เบื้องหลังหรือป่าว?
ผมถามแกตรงๆอย่างนั้นเลยครับ อาจารย์สมชายตอบว่า “ทุกอย่างเป็นไปได้หมดแหละครับ ตามทฤษฏีสมคบคิด”
“ข้อสังเกตคือ ให้ติดตามข่าวว่า เริ่มมีบางองค์กรอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้วหรือยัง?” ถ้ามี…ก็ใช่เลย ไม่ต้องสืบ แต่เท่าที่เชคข่าวตอนนี้ยังไม่มีนะ
แต่ถ้ายังยืดเยื้อไปเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้เป็นข้ออ้างให้มหาอำนาจอย่างเช่นสหรัฐและยุโรปเข้ามาแทรกแซงได้
========
ผลกระทบที่เห็นชัดๆคืออะไร?
“ผลกระทบกับนักท่องเที่ยวและเอกชนต่างชาติ เริ่มลังเลที่จะมาเที่ยวและลังเลที่จะมาลงทุนในฮ่องกง และอาจจะส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น” รัฐมนตรีคลังฮ่องกงแสดงความกังวลครับ
เท่าที่ผมเชคการสำรวจโพลล์ต่างๆเริ่มมีความกังวลอย่างนั้นบ้างครับ “3 ใน 4 ของสมาชิกหอการค้าธุรกิจกังวลกับร่างกฏหมายและคิดว่าจะกระทบกับภาคธุรกิจ และ 72% อาจจะย้ายสำนักงานใหญ่ออกจากฮ่องกง และเล็งเตรียมย้ายสิงคโปร์”
ถึงขั้นจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางทางการเงินไปเลยไหมครับ?
อาจารย์สมชายบอกว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น แต่รัฐบาลควรต้องใช้มาตรการในการสร้างเสถียรภาพ เพราะถ้ายืดเยื้อมากๆ ก็ไม่แน่ครับ
แล้วผลกระทบต่อจีนละ? ทางฝั่งจีนยกนี้ผลกระทบน้อยกว่าฮ่องกง ในแง่ตัวเลขเศรษฐกิจครับ
ก่อนหน้านี้จีนพึ่งพาการส่งออกไปยังฮ่องกง มากถึง 50% ในยุค 1990 แต่ตอนนี้เหลือเพียงแค่ 10% ของยอดการส่งออกทั้งหมด ในขณะเดียวกันจีนก็พยายามพัฒนาและเปิดเสรีระบบการเงินของตัวเองมากขึ้นทำให้ผลกระทบน้อยลงกว่าเมื่อก่อนเยอะ
========
คิดว่าจะจบยังไง?
อาจารย์สมชายมองว่า จีนและฮ่องกงสุดท้ายก็คงต้องมานั่งคุยกัน มองว่าจีนจะยังไม่ทำอะไรรุนแรงตอนนี้ครับ เพราะจีนกำลังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของคนทั้งโลก “คิดว่าจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จีนจะปล่อยให้ฮ่องกงบริหารจัดการกันเองก่อน”
“แต่ผู้ชุมนุมเริ่มยกระดับการเรียกร้องให้การนางแคร์รี แลม ลาออก และเริ่มเรียกร้องประชาธิปไตยมากขึ้น” เรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าสุดท้ายเกิดความรุนแรงสุดๆ ก็คงมีความสมเหตุสมผลให้จีนเข้ามาจัดการได้ แต่คิดว่าคงจะยังไม่ถึงจุดนั้นเร็วๆนี้ น่าจะยังไม่ถึงกับเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ครับ
========
ความเห็นของ #谈亿 #ถันอี้ #ถามอีกกับอิกเรื่องลงทุนจีน
ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าจุดจบจะเป็นยังไง (หวังว่าจะจบด้วยดีครับ)
อย่างนึงที่ผมเรียนรู้ได้คือ หลายเรื่องวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโลกทุกวันนี้“บางเรื่องดูเข้าใจได้” แต่บางเรื่องก็ไม่เป็นเหตุเป็นผลเสียเลย
“บางเรื่องก็มีผลระยะสั้น” “บางเรื่องมีผลผูกพันระยะยาว”
เรื่องบางเรื่องที่เราเสพสื่อมันเป็นแค่ปลายยอดภูเขาน้ำแข็ง หลายครั้งเราเองก็ไม่เข้าใจว่าเค้าทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร (ในวันนี้) แต่สิ่งที่อยู่ใต้น้ำมีอะไรเกิดขึ้นมากมาย
แต่ถ้าเราเปิดใจ ศึกษาที่มาที่ไป เราก็จะเริ่มเข้าใจเหตุผลของการกระทำของแต่ละตัวละครที่เกี่ยวข้อง
แม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอกได้ แต่เราสามารถเข้าใจโลกได้ลึกซึ้งมากขึ้น
ถ้าเราเข้าใจมากขึ้น เราก็จะตั้งรับ ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์บนโลกที่เปลี่ยนไปได้ครับ
มีความคิดเห็นอะไร เข้ามาแลกเปลี่ยนได้ครับ 